ชู”บัวสอน””ขวัญใจชาวสวนยาง ชี้นายทุนทำราคายางตกต่ำ เลือกไทยสร้างไทยอาสาแก้ราคาขั้นต่ำ 45 บาทต่อกิโลกรัม

9

 

วันที่ 9 พ.ค.66 ที่สนามโรงเรียนอนุบาลดอยหลวง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย นายบัวสอน ประชามอญ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยสร้างไทย เบอร์ 7 เขตเลือกตั้งที่ 7 จังหวัดเชียงราย ได้เปิดเวทีปราศรัยหาเสียงชูนโยบายแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ภายใต้สโลแกน บัวสอนกลับมา คนปลูกยางพารายิ้มได้ ท่ามกลางชาวอำเภอดอยหลวงมาฟังปราศรัยกว่า 500 คน โดยมีตัวแทนชาวบ้านนำพวงมาลัยที่ทำจากใบยางพาราและยางก้อนถ้วย(ขี้ยาง)มามอบคล้องคอให้กับนายบัวสอนฯ และยกย่องให้เป็นขวัญใจชาวสวนยาง เนื่องจากนายบัวสอนเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกนำกล้ายางพารามาแจกจ่ายให้เกษตรกรปลูกในยุคแรกๆ สมัยเป็น ส.ส.เมื่อปี 2546

นายบัวสอน กล่าวว่า ในอดีตจังหวัดเชียงรายไม่มีการปลูกยางพารา แต่เมื่อปี 2546 สมัยตนเป็น ส.ส.ได้เสนอแนะให้คณะรัฐมนตรีให้มีการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน คือโครงการยางพารา 1 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ของ จ.เชียงราย ได้รับการจัดสรรเป็นพื้นที่ปลูกประมาณ 2 แสนไร่ และราคายางก้อนถ้วยสูงถึงกิโลกรัมละ 85 บาท สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน บางคนมีรถยนต์ใหม่ สร้างบ้านใหม่ ลืมตาอ้าปากได้จากการทำสวนยาง


แต่หลังจากนั้นตนก็ว่างเว้นจากการทำงานการเมือง ก็ไม่ได้ติดตามสถานการณ์การณ์ราคายางอีก เพราะเข้าใจว่าราคายางจะขึ้นลงตามราคาน้ำมัน เพราะปิโตรเคมีทั้งหลายก็มีส่วนผสมของยางพารา จนมาทราบในภายหลังเพราะมีชาวบ้านมาบอกว่าราคายางตกต่ำลงอย่างมาก ตอนนี้ขายกันอยู่ที่ราคา 17-18 บาท ต่อ กก. ชาวบ้านขอให้ตนกลับมาช่วยแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางตกต่ำ ขอให้ราคายาง 30 บาทต่อกิโล ซึ่งตนก็ยังไม่รับปาก ขอกลับเอาไปศึกษาหาสาเหตุ และหาแนวทางแก้ไข จนทราบปัญหาเกิดจากการควบคุมราคาของกลุ่มนายทุนที่เรียกกันว่า “5 เสือ” ที่คอยควบคุมราคาต้นทุน และราคารับซื้อในท้องตลาด หากปล่อยให้คาราคายางเป็นไปตามกลไกราคา ราคาจะไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม

ถ้าหากพรรคไทยสร้างไทยได้มีโอกาสเข้าไปเป็นรัฐบาลก็จะเข้าไปแก้ปัญหาการผูกขาดของกลุ่มทุน เกษตรกรชาวสวนก็จะมีรายได้จากการทำสวนยางพาราเพิ่มขึ้น ราคายางจะไม่ต่ำกว่า 45 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทำได้แน่นอน เพราะเราไม่จำเป็นต้องไปพยุงหรือชดเชยราคา เพราะทถกวันนี้ตลาดโลกมีความตัองการยางพาราในปริมาณที่สูงมาก เพียงแต่ต้องกำจัดหรือเขี่ยคนที่มันคอยแสวงหาผลประโยชน์จากยางพาราออกไป นายบัวสอนกล่าว

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.