นายกเทศบาลตำบลบุญเรือง เห็นชอบตามหลักการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำป่าบุญเรืองใต้

6

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.30 น. ที่ผ่านมา ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย และสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต จัดประชุมชี้แจงการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิงตอนล่างเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ Ramsar site ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลบุญเรือง ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้เข้าร่วมจากตัวแทนหน่วยงานเทศบาลตำบลบุญเรือง นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบุญเรือง สมาชิกสภาจังหวัดเชียงราย เขต 2 อำเภอเชียงของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนชุมชนบ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

สืบเนื่องจากทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตร่วมกับชุมชนบ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ได้ดำเนินการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ไซด์ ในพื้นที่ของชาวบ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการรับรอง Information Sheet จากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ส่งถึงอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเพื่อดำเนินตามขั้นตอนในลำดับต่อไป ซึ่งทางเทศบาลตำบลบุญเรือง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบตำบลบุญเรือง รวมถึงสมาชิกสภาจังหวัดเชียงราย เขต 2 มีความกังวลถึงมาตรการข้อบังคับที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรมซาร์ไซด์จะส่งผลต่อการพัฒนาในพื้นที่หรือไม่ จึงได้ประสานงานกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย ให้ทางคณะทำงานชี้แจงให้กับหน่วยงานในพื้นที่ให้ได้รับทราบรายละเอียดการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ

นายเสถียร สายสูง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบุญเรือง ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และชี้แจงการประชุมว่าเนื่องจากการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุมน้ำในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำตำบลบุญเรือง โดยภาพรวมพื้นที่ทั้งหมดเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล) พื้นที่รวมกว่าสามพันไร่ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ 5 หมู่บ้านยังไม่มีความเข้าใจและไม่ทราบแน่ชัดว่าการขึ้นทะเบียนจะมีขอบเขตทั้งหมดหรือเฉพาะขอบเขตที่ชุมชนบ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ดูแลรับผิดชอบอยู่ ซึ่งอยากให้มีความชัดเจนเนื่องจากชุมชนรอบข้างยังมีข้อกังวลเรื่องระเบียบของการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำจะส่งผลบังคับอย่างไรหากขึ้นทะเบียนไปแล้ว ทางผู้นำชุมชนต้องการรับทราบขอให้ทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงรายได้ชี้แจงและขอให้ผู้นำชุมชนท่านใดที่มีข้อสงสัยสามารถซักถามกับทางหน่วยงานได้โดยตรง

นายสายัณน์ ข้ามหนึ่ง ผู้อำนวยการสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดเชียงรายได้นำเสนอความเป็นมาของการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนล่างว่าขอบเขตพื้นที่ครอบคลุมลำน้ำอิงตอนล่างที่ไหลผ่าน 4 อำเภอ ความยาว 133 กิโลเมตรและป่าชุ่มน้ำของชุมชน 7 แห่ง รวมเนื้อที่ 8,783 ไร่ ชุมชุนบุญเรืองใต้ หมู่ 2 เป็น 1 ใน 7 พื้นที่ที่มีความพร้อมเสนอให้ขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ไซด์ โดยเข้าตามเกณฑ์เป็นพื้นที่ประเภทที่หายากหรือมีลักษณะพิเศษเฉพาะ มีความสำคัญระหว่างประเทศสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ที่จะขึ้นทะเบียนอยู่ในขอบเขต พื้นที่ 1,473 ไร่ที่ชุมชนบ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ดูแลรับผิดชอบเท่านั้นไม่รวมพื้นที่ของ หมู่ 1,5,8 และ10 ซึ่งการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแรมซ่าร์ไซด์จะไม่เป็นอุปสรรคต่อโครงการพัฒนาของหน่วยงานในพื้นที่ การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์-พัฒนา(ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายเดิมที่มีอยู่)จังหวัดอบจ.อปท.สามารถตั้งงบประมาณดูแลรักษาบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่นั้นๆได้

การกำหนดขอบเขตพื้นที่ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซ่าร์ไซด์ ไม่ใช่ขอบเขตการปกครองตามกฎหมาย แต่มีความจำเป็นต้องแสดงขอบเขตบนแผนที่เพื่อรับทราบขนาดของพื้นที่ชุ่มน้ำและไม่มีอำนาจใดๆบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมาย(ยกเว้นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นๆยินยอม) การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำก็ให้ชุมชนมีส่วนร่วมรวมถึงต้องทำแผนการจัดการพื้นที่เพื่อกำหนดเขตอนุรักษ์/สงวนรักษา เขตกันชน และเขตพัฒนา

นายสมเกียรติ ปูกา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิชุมชน และ อปท.แต่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่จะได้รับจากการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ หากชุมชนจะทำการพัฒนาพื้นที่ก็สามารถทำได้ตามกรอบกฎหมายที่มีอยู่เดิมในขณะนี้ อนุสัญญาแรมซาร์ไซด์ไม่ได้มีกฎหมายสภาพบังคับที่จะห้ามการกระทำใดๆ ชุมชนจะได้ประโยชน์จากอนุสัญญาคือการเป็นที่รู้จักของทั่วโลก การดำเนินการนี้สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี ของมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาคือเมื่อมีการสำรวจพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีศักยภาพเข้าตามหลักเกณฑ์จะต้องเสนอขึ้นทะเบียน ซึ่งอยากฝากให้ทางท่านกำนันและนายกเทศบาลได้พิจารณาทบทวนขึ้นทะเบียนให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดเพราะจะเป็นโอกาสที่ดีมาก

ดร.วีระชัย สีดาพรมมา นักวิเคราะห์และแผนชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำที่ 4 เชียงราย ได้กล่าวเสริมถึงข้อดีของการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำว่าการขึ้นทะเบียนมีข้อดีกว่า 15 ข้อซึ่งจะเกิดการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ที่ดีของพื้นที่ เพราะอนุสัญญาแรมซ่าร์ไซด์ได้รับการรับรองจากสมาชิกกว่า 172 ประเทศทั่วโลก

นายสายผล ชอบจิตร กำนันตำบลบุญเรือง เดิมมีข้อกังวลเรื่องการประกาศครอบคลุมพื้นที่ 3,000 กว่าไร่เพราะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีหลายหมู่บ้านร่วมกันดูแล ชุมชน 4 แห่งมีมติไม่เห็นด้วยกับการเสนอขึ้นทะเบียนเนื่องจากยังไม่มีความพร้อม เมื่อได้ฟังคำชี้แจงก็รู้สึกสบายใจ เข้าใจหลักการขึ้นทะเบียนแรมซ่าร์ไซด์ และเห็นด้วยกับการอนุรักษ์และการพัฒนาที่จะต้องควบคู่ไปด้วยกันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หากจะขึ้นทะเบียนเฉพาะพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบุญเรืองใต้ 1,473 ไร่ ก็เห็นด้วยตามมติประชาคมของบ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2

นายสมบัติ ไตรจักร ผู้ใหญ่บ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ได้ยืนยันตามมติประชาคมหมู่บ้าน  ที่ต้องการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ ทางหมู่บ้านยืนยันที่จะขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำเฉพาะพื้นที่ป่าของบุญเรืองใต้ หมู่ 2 เท่านั้นไม่ได้ไปครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด การพัฒนาถ้าไปบุกรุกป่าหรือสร้างความเสียหายให้ป่าเราก็ไม่ให้ทำ”

นายวราวุฒิ ชัยวงค์ สมาชิกสภาจังหวัดเชียงราย เขต 2 อำเภอเชียงของ พื้นที่ป่าชุ่มน้ำบุญเรืองมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งสมุนไพร หรือจัดทำโครงการพัฒนาด้านอื่นอีกหลายด้าน ข้อกังวลเดิมคือการเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซด์แล้วจะเข้าไปทำโครงการพัฒนาต่างๆไม่ได้ วันนี้มีความเข้าใจและคลายความกังวลแทนประชาชนในพื้นที่ว่าการพัฒนาโครงการต่างๆสามารถทำได้ตามกรอบกฎหมายเดิมที่มีอยู่ ซึ่งการขึ้นทะเบียน

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.