สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ แถลงความคืบหน้าการดูแลช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ และเตรียมการจัด”พิธีฮ้องขวัญ” พลายศักดิ์สุรินทร์
นายสุรัตน์ชัย อินทร์วิเศษ ผู้อำนวยการสำนักาถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ เปิดเผยว่า หลังจากที่ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้ย้ายเข้ามาที่ศูนย์วิจัยและควบคุมเฝ้าระวังโรคสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง (ส.คช.) ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เบื้องต้น สัตวแพทย์ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจเบื้องต้นในกระบวนการกักกันและเฝ้าระวังโรค ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อการตรวจโรคดังนี้
- ไม่พบไข่พยาธิในอุจจาระ (sedimentation and floatation test)
- ไม่พบพยาธิในเลือดจาก thin blood smear, ELISA and PCR (Trypanosoma evansi)
- ไม่พบโรควัณโรค แท้งติดต่อ และ ฉี่หนู
- ไม่พบโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮอร์ปีสไวรัส (EEHV)
- ผลการตรวจค่าโลหิตวิทยาและชีวเคมีในเลือดปกติ
ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ สามารถกินอาหารและน้ำได้ดี ขับถ่ายปกติ สามารถนอนราบบนพื้นทรายได้เฉลี่ยคืนละ 1 – 3 ชั่วโมง โดยในทุกๆ วัน สัตวแพทย์จะเข้าทำความสะอาดแผลฝีที่สะโพกทั้งสองข้าง ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีขนาดลดลง และหากพ้นกระบวนการกักโรคแล้ว สัตวแพทย์จะเคลื่อนย้ายช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ ไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลช้าง โดยการรักษาสัตวแพทย์จะต้องคำนึงถึงลักษณะนิสัยช้าง พฤติกรรม สุขภาพทั่วไป ได้แก่ การกิน การดื่ม การขับถ่าย การนอน และ กิจวัตรประจำวัน ร่วมกับความเจ็บป่วยต่างๆ (เช่น ตา ขาหน้าเหยียดตึง, แผลฝี ฯลฯ) และสุขภาพจิต ความเครียดของช้าง เป็นต้น
สำหรับการซักซ้อมพิธีสู่ขวัญช้างที่จะจัดขึ้น ในวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ตลอดจนการซักซ้อมพบปะนักท่องเที่ยวในจุดที่ได้จัดไว้ให้ ซึ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 – 16.00 น. ทุกวัน หลังจากที่ช้างได้ปรับตัวและมีความคุ้นเคยกับแหล่งพักพิงใหม่แล้ว ในอนาคตอาจจะพิจารณาหาช้างที่สามารถเข้ากับพลายศักดิ์สุรินทร์ได้เพื่อให้อยู่เป็นเพื่อนกันและได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่สุด สมกับที่ชาวไทยร่วมใจกันนำพาเจ้าพลายกลับมารักษาตัว และให้ใช้ชีวิตในปันปลายในบ้านเกิดเมืองนอน และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ขอยืนยันตั้งปณิธานว่าจะดูแล รักษาช้างพลายศักดิ์สุรินทร์เต็มกำลังความสามารถอย่างดีที่สุด
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.