นักวิชการ มข.ชี้ “เศรษฐา” ต้องกล้า เด็ดขาดและชัดเจน อย่าบริหารประเทศแบบเหมารวม แบบเอื้อประโยชน์พรรคร่วมรัฐบาล
นักวิชการ มข.ชี้ “เศรษฐา” ต้องกล้า เด็ดขาดและชัดเจน อย่าบริหารประเทศแบบเหมารวม แบบเอื้อประโยชน์พรรคร่วมรัฐบาล พร้อมระบุคนไทยทั้งประเทศรอดูอยู่ว่า ทำได้จริง ทำได้ชัด ทำได้หรือเปล่า เพราะหลายนโยบายขัดหลักความเป็นจริงชัดเจน
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 13 ก.ย.2566 ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข.รศ.ดร.พรอัมรินทร์ พรหมเกิด อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ที่ จ.ขอนแก่น ว่า การแถลงนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง นั้น ในหลายประเด็นไม่ตรงปกตามที่หลายฝ่ายระบุชัดไปแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้รัฐบาลรอดและเดินหน้าต่อไปได้ คือการที่นายกรัฐมนตรี จะต้องกล้า จะต้องเด็ดเดี่ยว ทำได้จริง ทำได้ชัดและทำให้ได้ เนื่องจากประชาชนคนไทยทั้งประเทศคาดหวังอยู่ อย่าลืมว่าศรัทธาของพรรคเพื่อไทย ที่มีต่อประชาชนนั้นลดลงไปตั้งแต่การประกาศจับมือกับพรรคอนุรักษ์นิยม จนกลายมาเป็นรัฐบาล เศรษฐา 1 ร่วมกับ 11 พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเป็นการกลืนน้ำลายตัวเองและมาบอกว่าเทหมดหน้าตักเพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้ ดังนั้นวันนี้สำคัญที่สุดคือการที่จะทำอย่างไรให้ประเทศเดินหน้าต่อไป และเกิดการเปลี่ยนแปลงตามความคาดหวัง เนื่องจากถึงวันนี้แล้วความเปลี่ยนแปลงต่างๆยังไม่มี ครม.ยังเป็นชุดเดิม นโยบายยังคงเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ดังนั้นระวังพายุพัดถล่มเข้ามาก็จะทำให้เรือเศรษฐา นั้นล่มลงได้
“ ถ้าไม่ทำอะไรเลยและบริหารงานแบบเกรงใจ เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลหรือกลุ่มนายทุน รัฐบาลนี้ไปไม่รอดแน่ ทุกวันนี้ลมมรสุมต่างๆได้พาดผ่านเข้ามาในรัฐบาลชุดนี้แล้ว อย่ามามองว่าการปรับ ครม. นั้นจะแก้ปัญหาได้ เพราะการแก้ปัญหาอยู่ที่ตัวผู้นำ นโยบายต่างๆที่ประกาศออกมาทุกคนเฝ้าจับตามอง โดยเฉพาะเงินดิจิตอลคนละ 10,000 บาท ในเมื่องบมี 400,000 ล้านบาทแต่เงินที่จะใช้นั้น 650,000 ล้านบาท เพียงแต่เริ่มต้นก็ยากแล้ว”
รศ.ดร.พรอัมรินทร์ กล่าวต่ออีกว่า ทุกนโยบายที่ได้ประกาศเอาไว้ในช่วงหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของนักศึกษาจบใหม่,ค่าแรงขั้นต่ำ,รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย หรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆที่ประกาศออกมา ขณะนี้เริ่มมีการใช้ตำหรือการพยายามที่จะกลบเกลื่อนไปแล้ว ด้วยเหตุเพราะทำไม่ได้ ดังนั้นความเชื่อมั่นที่ประชาชนคาดหวัง และต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่คุณเศรษฐาต้องทำทันที อย่าดึงเรื่องหรือยื้อเวลาออกไปเพราะการบริหารงานอาจจะไม่ครบ 4 ปีก็ได้
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.