มฟล.ร่วม 8 องค์การรวมตัวจัดเสวนา “ผ่าความจริง ไหว….หรือไม่ไหว”

9

1

 

 

 

วันที่ 30 พ.ค.57 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้มีการจัดเสวนาช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ในหัวข้อ “ผ่าความจริง ไหว….หรือไม่ไหว” ภายใต้ความร่วมมือของ 8 องค์การ คือ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูประถัมภ์ กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูประถัมภ์ (วสท.) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิทศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จังหวัดเชียงราย

โดยการจัดเสวนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการเสวนาได้รับความมรู้ในการรับมือกัยเหตุแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งแบ่การเสวนาเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น “ผ่าความจริง ไหว…หรือไม่ไหว” โดยมีหัวข้อย่อยคือ การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ความรุณแรงของภัยพิบัติ รายงานการสำรวจ ตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น ความตระหนกตกใจต่อความปลอดภัย ผลกระทบต่อวิถีชีวิต และข้อตระหนักต่อความเป็นอยู่ของชุมชน และหัวข้อ “อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยไร้กังวล” โดยมีหัวข้อย่อยคือ การรับมือกับเหตุการร์ภัยพิบัติ การบริหารจัดการให้สอดคล้องกับวีถีชีวิต แนวทางการบรรเทาสาธารณภัย

นายกอบชัย บุญอรณะ ผอ.ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย กล่าวว่า หลังจากที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์เมื่อวันที่ 5 พ.ค.57 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเสียหายในหลายพื้นี่ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งทาง 8 หน่วยงานโดยทาง สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูประถัมภ์ ได้จัดเวทีเสวนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงในสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว และผลกระทบที่จะส่งผลต่อบ้านเรือน รวมทั้งแนะนำวิธีการซ่อมและสร้างบ้านเรือน ซึ่งการมาให้ความรู้ในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนได้เข้าใจแระรับรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

ด้าน วัยชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเป็ฯการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับความรู้และการรับมือเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ทั้งการป้องกันและการเตรียมพร้อม โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้กับการประชาชนและผู้ที่เข้าอบรม โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ซึ่งจะได้นำไปความรู้ไปเผยแพร่กับพ่อแม่พี่น้องในการรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว และการเตรียมด้านอาคารสถานที่ในการก่อสร้าง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการอ่กสร้างไม่ได้เตรียมโครงสร้างเพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวจึงทำให้เกิดความเสียหายมาก

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.