โครงการพัฒนาเด็ก ซี.ซี.เอฟ. จังหวัดแพร่  ต้อนรับคณะประเมินรางวัลลูกโลกสีเขียว

10

เวลา 09.30 น. วันที่  9  ตุลาคม  2566 นายเทียน  กันทะลั่น  ประธานกรรมการบริหารโครงการพัฒนาเด็ก ซี.ซี.เอฟ. จังหวัดแพร่  ได้ต้อนรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณค่าตรวจการประเมินรางวัลลูกโลกสีเขียว  โดย ปตท. จำกัดมหาชน  ระดับประเทศ ครั้งที่  2  ณ ชุมชนบ้านปง หมู่ที่ 3  ตำบลต้าผามอก  อำเภอลอง   จังหวัดแพร่ โดยมี นางพิกุล เอี่ยมพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก กล่าวรายงานความเป็นมา ให้คณะกรรมการได้รับทราบ  และได้รับเกียรติจาก นายกิตติชัช  บุตรศรี  นายอำเภอลอง    นายเสน่ห์  แสงมูลผู้อำนวยการฝ่ายผู้อำนวยการกองอำนวยการป่าไม้ที่  3 แพร่    นายวีฤทธิ์ ปกยวนิช  เลขานุการนายก อบจ.แพร่   นางสาวชนัณธิดา  ขัตติยบุตร หัวหน้าส่วนการจัดการป่าไม้ที่ 13 แพร่     นายสมชาย  อินทราวุธ ประธานป่าชุมชน/ทสม.จังหวัดแพร่    สกร.อ.ลอง    มหาวิทยาลัยแม่โจ้     ธนาคาร ธกส.   สภาเกษตรจังหวัดแพร่       เครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดแพร่  และนายสาโรจน์  ศิริเมือง  มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.เพื่อเด็กและเยาวชน  ในการประเมินครั้งนี้ คณะกรรมการได้รับฟังผลการดำเนินงาน การบริหารจัดทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม  การพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน  ตามหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อสืบทอดให้กับเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และนำไปต่อยอดเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

จากนั้นได้เยี่ยมชมกิจกรรมของชุมชน  จุดแรกเป็น บ่อก๊าซชีวภาพ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้จากเศษอาหาร   มูลสัตว์ ทีหมักหมมเป็นเวลานานที่ย่อยสลายจะทำให้เกิดก๊าซ ปัจจุบันชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากบ่อก๊าซชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนในการใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG)   จุดที่ 2 การเลี้ยงหมูป่าช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม การนำเศษอาหารที่เหลือในชุมชนมาเป็นอาหาร และการนำเศษฟาง ซังข้าวโพด ลดการเผา นำมาย่อยสลายเป็นปุ๋ยโดยใช้หมูป่าในการเยียบย้ำ ถ่ายมูล เพื่อย่อยสลาย  จุดที่ 3 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปง การสร้างแหล่งพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์   นวัตกรรมเตาเผาถ่านชีวมวล ที่เปลี่ยนถ่านเป็นแก๊สหุงต้ม  และการปลูกไผ่เป๊าะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนลดการทำลายป่า   จุดที่ 4 ป่าชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างสมดุลและเกื้อกูลกัน และการเสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้สามารถดูแลรักษา สร้างกติกาและใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรในพื้นที่ของตนได้อย่างสมดุล คงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกป่า การบวชป่า การทำฝายชะลอน้ำ

 

 

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.