หลังจังหวัดพิจิตรพบค่าฝุ่นและจุดความร้อนจำนวนมากก็ทำให้ สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตรก็นำร่องหาตลาดรับซื้อใบอ้อยเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ลดการเผาต้นเหตุฝุ่น PM 2.5 โดยเกษตรกรมีรายเพิ่มจากการไม่เผาใบอ้อย
ที่จังหวัดพิจิตร สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ก็ลงพื้นที่ตรวจสอบการตัดอ้อย ของนายดำรงศักดิ์ ชุ่มเย็น เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตำบลหนองโสนอำเภอสามง่ามจังหวัดพิจิตร หลังจากที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ได้ทำการหาตลาด และทำการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร และผู้รับซื้อใบอ้อย ซึ่งเป็นโรงงานไฟฟ้า เพื่อนำไปแปรูปเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกษตรกร มีรายได้เพิ่มจากการตัดอ้อยแบบไม่เผา เป็นการลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางโรงงานไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่จะมีการรับซื้อไม่จำกัดจำนวนและจะมีการขนส่งเองถึงไร่อ้อยของเกษตรกร
สำหรับนายดำรงค์ศักดิ์ ชุ่มเย็น ปลูกอ้อยกว่า 50 ไร่ เป็นเกษตรกรต้นแบบในการไม่เผาในพื้นที่มานานกว่า 5 ปี ซึ่งดำรงศักดิ์ กล่าวว่าแปลงอ้อย เมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวจะพบว่าบางแปลงมีการเผาเพื่อให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว แต่เนื่องด้วยมีการส่งเสริมการไม่เผาในพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะแปลงอ้อย จึงได้มีการใช้นวัตกรรมรวมถึงเทคโนโลยีในการตัดอ้อยที่ทันสมัย และลดการใช้แรงงานคน รวมถึงลดการเผาในพื้นที่ ด้วยการใช้รถตัดอ้อยมาช่วยในการเก็บเกี่ยวผลผลิต
โดยมีค่าเก็บเกี่ยว คิดราคา ตันละ 380-400 บาท/ตัน ราคาส่งถึงโรงงานน้ำตาล หากเกษตรกรไม่เผาทางภาครัฐจะมีเงินช่วยเหลือหรือเงินตามตันละประมาณ 120 บาท รวมถึงผลผลิตจะมีค่าความหวานที่ดี เป็นที่ต้องการของโรงงาน อีกทั้งเมื่อเกษตรกรเก็บผลผลิตแล้วจะมีใบอ้อยที่สามารถนำไปอัดก้อนจำหน่ายได้เกษตรกรจะได้จะมีรถมารับซื้อไร่ละ 60 บาท หรือหากเกษตรกรมีเครื่องมือก็สามารถอัดใบอ้อยเป็นก้อน โดยจำหน่าย 750 – 800 บาทต่อตัน ให้กับโรงงานที่ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดพิจิตร และจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย
นายสงกา ปราชม หัวหน้าหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า นอกจาการรณรงค์ไม่เผาอ้อยที่สำนักงานเกษตรที่ได้ทำอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังได้เชื่อมโยงติดต่อโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งจังหวัดพิจิตรมีโรงงานอยู่ในพื้นที่อำเภอตะพานหิน ให้เข้ามาซื้อใบอ้อยของเกษตรกร นอกจากนั้นยังได้พยามให้ความรู้กับการเกษตร ในการทำปุ๋ยหมักจากใบอ้อย นำมา ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินมีความโปร่งร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารพืชคืนสู่ดิน อินทรียวัตถุจะดูดซับธาตุอาหารในดิน และ เพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เป็นการลดต้นทุนการปลูกอ้อยได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับจังหวัดพิจิตร ได้ ดำเนินการตามมาตรมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567โดยดำเนินการรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกรไม่เผา และมีการจัดการด้วยวิธีการทางเลือก คือดำเนินโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร มีการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ 7 อำเภอ จำนวน 10 กลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีจุดความร้อนสูงในปี 2566 เป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงผลเสียของการเผา และการใช้วิธีการทางเลือกทดแทน การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าใจถึงการไม่เผา ในพื้นที่ทุกอำเภอ มีการแนะนำและขยายผลจากเกษตรกรต้นแบบที่ปลอดการเผาและประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรอื่น ๆ ในพื้นที่ใช้เป็นแบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากเคยเผา เป็นไม่เผา ซึ่งจะส่งผลต่อการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตในระยะยาว
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.