ทม.ศิลาเอาจริง ไถกลบตอซังทั้งตำบล กว่า 2,000 ไร่ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างยั่งยืน

2

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 10 ม.ค.2567 ที่บ้านศิลา ม.1 ริมถนนเลี่ยงเมืองสายขอนแก่น-กาฬสินธ์ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายศิริวัฒน์ ศิริพานิขย์ รอง ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานเปิดโครงการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ประจำปี 2567 ซึ่งเทศบาลเมืองศิลา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้กำหนดจัดกิจกรรมทขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรในพื้นที่ไถกลตอซัง และใช้น้ำจุลินทรีย์ พด. 2 ย่อยสลายซังข้าวแทนการเผานาข้าวในพื้นที่ท่ามกลางความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

นายไพรัตน์ ทวีวาร นายกเทศมนตรีเมืองศิลา กล่าวว่า การไถกลบตอซังเป็นนโยบายที่รัฐบาลและจังหวัดเดินหน้ารณรง๕ให้เกษตรกรทุกพื้นที่นั้นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพื้นที่ตำบลศิลา ขณะนี้ข้าสู่ช่วงของการทำนาปรังหลังสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวในช่วงนาปี ดังนั้นการรณรงค์ด้วยการประสานความร่วมมือร่วมระหว่างกำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้นำชุมชน,อสม,และเกษตรกรให้หันมาให้ความสำคัญกับมลพิษและมลภาวะที่จะเกิดขึ้นจากการเผา โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และปัญหาควันไฟที่ขณะนี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ดังนั้นวันนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้ยที่สำคัญที่คนศิลาจะร่วมมือกันไถกลบตอซังกันให้มากที่สุด โดยเทศบาลฯให้การสนับสุนแบบบคนละครึ่ง


“ เราทำความเข้าใจกับเกษตรกร ซึ่งเดิมคาดการณ์ว่าเกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการกับเทศบาลฯในปีนี้ประมาณ 1,000 ไร่ จากพื้นที่นาข้าวทั้งตำบล 8,000 ไร่ แต่เมื่อมีการเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการพบว่ามีเกษตรกรให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 2,000 ไร่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของคนศิลาที่จะร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและปัญหามลพิษทางอากาศ เพราะศิลาเป็นเขตชุมชนติดเมืองซึ่งหากไม่มีการเผาก็จะช่วยสร้างอากาศทีบริสุทธิ์ให้กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย”

นายไพรัตน์ กล่าวต่ออีกว่า การสาธิตการไถกลบตอซังครั้งนี้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กรมพัฒนาที่ดินและเกษตรอำเภอกำหนด และเมื่อไถกลตอซังแล้วเสร็จก็จะมีการพ่นน้ำยา พด.2 ซึ่งจะไปย่อยสลายซังข้าวที่ถูกไถกลบไป และสร้างปุ๋ยและฟื้นฟูดินให้ดีขึ้นจากนั้นเมื่อเกษตรกรปล่อยน้ำเข้าที่นาและทำการไถอีกรอบเพื่อเตรียมแปลงก็จะสามารถทำนาปรังได้ทันที ขณะที่การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนนั้นนอกจากน้ำยา พด.2 ที่เกษตรอำเภอนำมาแจกจ่ายให้กับเกษตรกรแล้ว เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลไร่ละ 100 บาท ซึ่งเดิมต้นทุนในการไถต่อไร่อยู่ที่ 200 บาท เมื่อเทศบาลสนับสนุนให้กับเกษตรไร่ละ 100 บาทเท่ากับว่าต้นทุนของเกษตรกรจะลดลงแบบคนละครึ่ง ซึ่งจะลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเล็งประสานงานร่วมเทศบาลฯในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อร่วมกันรณรงค์ในการไถกลบตอซังเพื่อสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ให้กับชุมชนเมืองขอนแก่นได้อย่างยั่งยืนทุกฤดูกาลดำนา

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.