เชียงรายเตรียมขยับเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

12
2
วันที่ 21 ส.ค.57  ที่โรงแรมเวียงอินทร์ อ.เมือง จ.เชียงราย นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดการสัมมนานาชาติ Northern Logistics Forum 2014 “spacial Economic Development in GMS” และการจัดงาน “Noorthern Logistics Fair 2014” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจาก สปป.ลาว จีน เมียนมา เวียดนาม กัมพูชา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจากทั้ง 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบนเข้าร่วมอย่างคับคั่ง โดยกิจกรรมบรรยายพิเศษโดยวิทยากรจากทั้งในและต่างประเทศ
โดยมีวิทยากรในการบรรยายในหัวข้อ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ : สู่การสร้างฐานเศรษฐกิจในภูมิภาค GMS”  โดย น.ส.พจณี อรรถโรจน์ภิญโญ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่ง การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ กนพ.1/2557 มุ่งหมายให้การจัดตั้งเขตพัฒนาเสณษฐกิจพิเศษ ในฐนะส่วนหนึ่งของโรดแมบขอบ คสช. มีการสนับสนุนการนำประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และช่วนรักษาความมั่นคงของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสู่ปการปกิบติโดยเร็ว ซึ่งแผนการจัดสรรงบประาณ ปี 2558 ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้แล้ว
โดยมีเป้าหมายในระยะแรกจะจัดในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพที่เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกของไทยในพื้นที่ใน 5 พื้นที่ชายแดน คือ 1.อ.แม่สอด จ.ตาก 2.อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว 3.พื้นที่ชายแดน จ.ตราด 4. พื้นที่ชายแดน จ.มุกดาหาร 5. อ.สะเดา จ.สงขลา (ด่านสะเดาและด่านปาดังเบซาร์) โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารกณาคือ 1 ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิภาค 2.พื้นที่มีศักายภาพและควมพร้อมในการพัฒนา 3.มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาเป็นพื้นที่พิเศษหรือเร่งด่วน 4.ประชาชนทุภาคส่วนในพื้นทีให้การยอมรับและสนับสนุน โดยเน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน สร้างคามเป็นอยู่ที่ดีให้ับประชาชน แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามายังพื้นท่ตอนใน แก้ปัญหาการลักลอบนำสินค้าเกษตรผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาความแออัดบริเวณด่านชายแดนสำหรับจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในกรพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงสู่ภูมิภา โดยมีศักยภาพและความพร้อมหลายด้านทั้งการขนส่ง การทอ่งเที่ยว  มีสถาบันและพัฒนาฝีมือแรงานประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีความเข้มแข็งและมีเครือข่ายความร่วมมือกับ ไทย-ลาว-เมียนมา-จีน
ด้านการพัฒนาตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ในปัจจุบัน ที่นครคุณหมิง ประเทศจีน เป้นศูนย์กลางของการผลิต การค้า การลงทุน และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มาก รัฐมีนโยบายส่งเริมให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของเอเชีย เขตปกครองพิเศษ สิบสองปันนา ประเทศจีน มีการพัฒนาด้านการเกษตรและท่องเที่ยว ด้าวยประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตพื้นถิ่นของกลากหลายชนเผ่า มีการลงทุนโครงการ Wansa Xishuanbanna International Resort ระยะที่ 1 ของWanda Group ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค.2558 และโครงการ 9 จอม 12 เชียง แขวงหลวงน้ำทา ประเทศ สปป.ลาว มีพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ปลูกกล้วย ยางพารา และข้าว มีาการลงทุนจากนักธุรกิจจีน เพื่อส่งผลผลติเกษตรกลับไปขายในจีน มีการลงทุนโครงการนาคราชนครบริเวณชายแดน และที่เชียงราย ประเทศไทย ได้เตรียมการพัฒนาเป็น sez ระยะต่อไป ไทย – ลาว – จีน อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อเปิดเดินรถตามแนว R3A ภายใต้กรอบแผนงาน GMS
สำหรับแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายนั้นทาง กนพ.ได้กำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นซา สิทธิประโยชน์การลงุนการบริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ one stop service และการบริการอื่นที่จำเป็น โดยมีวุตถุประสงค์เพื่อดึงดูด FDI เพิ่มขีดความสามารถของประเทศ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาความมั่นคง โดยมีกลยุทธ เพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ ระยะแรกเน้นบริเวณชายแดนโดยใช้ประโยชน์จากการเชือมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุน SMEs ไทยและการลงทุนต่อเนื่องของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน จัดระเบียบเขตเศรษฐกิจชายแดน แก้ปัญหาแรงงานค่างด้าวผิดกฎหมายและสินค้าเกษตรลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านหลักการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต้องมีการดำเนินงานภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบัน โดยรัฐจะให้สิทธิประโยชน์ จัดการโครงสร้งพื้นฐาน ปรับกฎระเบียบ ด้านเอกชน สนับสนุนด้านการลงทุน ภาคประชาชนให้การมีส่วร่วม และจะต้องได้รับประโยชน์จาการพัฒนา จอกนากนั้นต้องไม่กระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคม และความมั่นคง มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปบี่ยนได้ตามสถานการร์ กำหนดพื้นที่ตามเขตปกครองเพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ
สำหรับการสันบสนุนจากภาครัฐนั้นจะให้สิทธิประโยชน์ตามเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 พิเศษ สิทธิระโยชน์อื่นทั้งที่เป็นภาษี และไม่เป็นภาษี จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวทำงานแบบ ไป-กลับ จัดตั้ง oss ด้านการลงทำตโดยมีสำนักงานในพื้นที่ และเชื่อมโยงกับศูนย์บริการด้านการลงทุนของ BOI ทางอินเตอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีอื่น จัดตั้ง OSS ด้านแรงงาน สาธารณสุข และตรวจคนเข้าเมือง ด้านโครงสร้างพื้นฐานให้การสับสนุน ด้านศุลกากรและการผ่านแดน โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง มีอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ ไฟ้าและอื่นๆ ที่จำเป็น
โดยแนวการสนับสนุนจากภาครัฐนั้นจะมีการประสานการทำงานระหว่างด่านพรมแดนของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างมาตราฐานและระบบงานที่สอดล้องกัน ทั้งเรื่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เอกสารและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การจำกัดค่าใช้จ่ายนอกระบบ เวลาทำการของด่านพรมแดนให้สามารถเปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเน้นการแจ้งล่วงหน้า เร่งเจรจาเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินการตามความตกลงขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง การให้ความช่วยเลหือดพัฒนาความพร้อมของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา การเสริมสร้งความสันพันธ์ที่ดีในทุกระดับทุกภาคส่วนระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอค่อการลงทุนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และเพื่อเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพในเรื่องผลกระทบเชิงลบ และปัญหาความมั่นคงต่างๆ
สำหรับกิจกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ อ.แม่สาย มีการพัฒนาชายแดนเพื่อรองรับการค้า การท่องเที่ย เตรียมพื้นที่จัดตั้งโรงแรม ศูนย์การประชุม ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์ขนส่งมวลชน และศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว อ.เชียงแสน มีเขตการค้าเสรี เขตปลอดภาษีอากร ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เตรียมพื้นที่จัดตั้งท่าเรือ ศูนย์การเปลี่ยน่ถายและคลังสินค้า พาณิชยกรรม สำนักงานและศุลกากร ที่ อ.เชียงของ เน้นด้านการค้า การท่องเที่ยว ศูนย์ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เตรียมพื้นที่โลจิสติกส์ พาณิยชกรรม สำนักงานการค้าและศุลกากร
ซึ่งการเตรียมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ซึ่งจะต้องเร่งสร้งเพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับประชาชคมอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 เพื่อจะได้มีขีดความสามารถในด้านต่าง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ที่จะเข้ามาถึง ซึ่งจังหวัดเชียงรายเปรียบเสมือนประตูหน้าด่านสู่อาเซียนและศูนย๋รวมโลจิสติกส์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.