ว่สที่ สว.”อัษฎางค์” เดินหน้าผลักดัน พรบ.การศึกษา เน้นการเรียนการสอนแบบใหม่ตรงตามความชอบ ความถนัด ที่ใช่ของผู้เรียน
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 29 มิ.ย.2567 ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ นายอัษฎางค์ แสวงการ ว่าที่ สว.กลุ่ม 3 (กลุ่มการศึกษาฯ) เปืดเผยว่า ต้องขอขอบคุณ ผู้สมัคร สว.ในระดับประเทศ ที่ไว้วางใจและเลทอกให้ตนเอง มาทำหน้าที่ สว.ในกลุ่มการศึกษาซึ่งโดยส่วนตัวทำงานด้านการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน มากว่า 30 ปี ตรงจุดนี้จึงเป็นส่งที่ทำให้ผู้ที่เข้ารับการเลือก สว.ระดับประเทศ ทั้งแบบกลุ่มสาขาในรอบเช้า และแบบไขว้ในรอบบ่าย ทุกท่านได้พิจารณาถึงความเหมาะสม ความรู้ ความสามารถและความตั้งใจจริง ตามที่ตนเองได้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือก สว.จนได้รับความไว้วางใจจากทุกท่านได้คะแนนมาเป็นอับดับที่ 1 ของกลุ่ม 3 กลุ่มการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาตนเองเคยได้รับการเลือกตั้งให้เป็น สว.เมื่อปี 2549 แต่ก็เกิดการรัฐประหารของคณะ รสช.จึงยังไม่ได้ทำหน้าที่ แต่ก็ทำงานทางการเมืองและการศึกษา ควบคู่ไปในทุกสนามและทุกระดับ
“ในรอบไขว้ เป็นสิ่งที่เราคาดเดาไม่ได้และยากมาก แต่เราก็ได้นำเสนอความเป็นการศึกษามาทั้งชีวิต ทำงานกับทุกภาคส่วนได้อย่างลงตัว ประสานงานได้ทุกเรืองเพราะวงการการศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับทุกสาขา ได้มีการพูดคุยกับกลุ่มผู้พิการ ท่านก็แจ้งว่าความต้องการของคนพิการในด้นการศึกษานั้นคืออะไร กลุ่มผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี โอทอป ก็กล่าวถึงความต้องการและสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในด้านการศึกษาในกลุ่มของตนเอง ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ตนเองอยากทำ และเมื่อได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ สว.ในกลุ่มการศึกษา ก็จะทำเรื่องนี่อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ พรบ.การศึกษา ที่ยังค้างอยู่ในสภาฯ อีกทั้งถ้าจะมองว่าการศึกษาของไทยจะดีหรือไม่ดีนั้นอยู่ที่แนวทางปฎิบัติ โดยส่วนตัวผ่านกระบวนการการเรียนรู้ด้วยการจัดการศึกษาโดยตรง จะเห็นชัดเจนคือสิ่งที่เรียนไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการ เพราะเมื่อเรียนในสิ่งที่ชอบต่อไปข้างหน้าก็จะเป็นสิ่งที่ใช่สำหรับน้องๆทุกคนที่นะเป็นกำลังหลักของชาติในอนาคต เพราะถ้าชอบแล้วมันใช่ มันก็จะไปด้วยกันได้ แต่ที่เห็นและเกิดขึ้นคือมาเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ พอจบไปก็ตอบไม่ใช่ โดยส่วนตัวขอทำหน้าที่ ในการจัดการศึกษาที่ตรงกับความต้องการ และตรงกับความจริงที่กำลังเกิดขึ้น”
นายอัษฎางค์ กล่าวต่อว่า ถึงเวลาที่ต้องมาปรับให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงและยอมรับได้ น้องบางคนเรียน 2 ปีจบก็มี ดังนั้นหลักสูตรหรือการปรับปรุงการศึกษาของไทย เราต้องคุยกันใหม่ แม้เดิมเราจะมองว่าการบรรลุ นิติภาวะคือ 20 ปี แต่วันนี้น้องๆ15 ปี 16 ปีก็ประกอบอาชีพหรือมาทำงานที่ตนเองชื่นชอบและต้องการบางอย่างกันได้แล้ว สามารถตัดสินใจได้บางอย่างแล้วเราจึงไม่จำเป็นที่จะต้องล็อคหลักสูตร หรือระยะเวลาแบบเดิมๆแล้ว และโดยส่วนตัวยังคงมองว่าประเทศไทยต้องแบ่งการศึกษาให้ชัดเจน น้องๆที่ชอบและเก่งด้านวิชาการหรือวิชาที่เรียนก็เน้นหนักในด้านอุดมศึกษาตามความชอบและความถนัด คนใดที่มีทักษะแต่ครอบครัวไม่พร้อม แต่สนใจในการประกอบอาชีพตรงนี้เรียกว่าอาชีวะ ซึ่งหาหได้เรียน ได้อบรมได้รับการพัฒนาทักษะ ก็สามารุนำไปประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องจบปริญญาตรี บางทีการยับการเรียน ม.ต้น-ม.ปลาย มากถึง 6-7 ปี อาจจะนานไป อาจจะทำงานก่อนและพร้อมจกลับมาเรียนตรงนี้ก็อาจจะเป็นไปได้
“รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดชัดเจนในการได้มาซึ่ง สว.ตามกลุ่มอาชีพที่ถนัด ดังนั้นก็มีความเข้าใจและถนัดตรงตามสาขาที่กำหนด แต่ทั้งนี้การทำงานก็ต้องรับฟังและเข้าใจในกลุ่มสาขาอื่นๆที่จะมาร่วมกันทำงานให้กับประเทศ แม้ในเริ่มต้นเราจะทำงานในกลุ่มสาขาอาชีพของเรา แต่ต่อไปก็จะเป็นการทำงานร่วมกันในทุกกลุ่มสาขา เพราะทุกคนสามารถให้ข้อคิดและนำเสนอประเด็นในกลุ่มอาชีพอื่นๆได้ เพราะแม้จะมีเวลาไม่นานในการเลือก สว.ที่ทุกคนต้องเตรียมตัว ตนเองก็ได้คุยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน กับอีกหลายกลุ่มซึ่งก็ทำให้รู้ว่าแต่ละกลุ่มมีควาทถนัด มีความต้องก่งารและมีเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างแน่นอน”
นายอัษฎางค์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ภายนอกกำลังมองว่า สว.อยุ่สังกัดใด อยุ่กลุ่มใด หรือแบ่งสีใด ซึ่งทั้ง 200 ท่านที่ได้รับการเลือกทุกคนมีความตั้งใจ มีความจริงใจ มีประสบการณ์ และได้รับความไว้วางใจจนได้รับเลือกตามกฎหมายกำหนด เราอย่าให้ความรู้หรือการศึกษามากำหนดกรอบ กำหนดบุคคลหรือกำหนดวุฒิภาวะ ทุกคนมีความรู้ความสามารถ บางท่านจบ ป.4 หรือจบ ม.ปลาย แต่ก็มีความคิดและประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า เพราะผมได้พูดคุยกับทุกกลุ่มบุคคล ทุกกลุ่มอายุ ทุกคนมีแนวติดและแนวทางของตนเอง บางครั้งก็รูเง้สึกว่าใช่ตามไปด้วย ดังนั้นหากจะมองว่าพวกมากลากไป หรือเกรงว่า สว.จะโดนครอบงำ คงอาจจะเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงขอให้กระบวนการตรงนี้ ดำเนินการไป โดยเฉพาะผู้นำ สว.ฯ ทัเงในส่วนของประธาน สว.และรองฯ ขอให้เป็นคนที่ดีมีประสบการณ์ มีภาวะผู้นำ ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยและหารือกันอีกครั้ง แต่ขณะนี้ยังไม่มีใครประสานงานมาหรือพูดถึงในเรื่องนี้
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.