ดร.พิทยา พุกกะมาน อดีตเอกอัครราชทูต เป็นวิทยากรพิเศษ ในการประชุมเสวนาการลงทุนประกอบธุรกิจในสหภาพเมียนมาขอบแนวชายแดน ซึ่งจัดโดย สมาคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจไทย-เมียนม่า โดยนายกสมาคม พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร เนื่องในวาระจัดประชุมใหญ่ สัญจรของสมาคม ที่ห้องเชียงตุง โรงแรม แม่โขงเดลต้าบูทิค อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยเน้นย้ำความมั่นคงทางการเมือง และการเชื่อมโยง ( connectivity ) สำคัญสำหรับการค้าชายแดน
ดร.พิทยา พุกกะมาน อดีตเอกอัครราชทูต ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ ในการร่วมบรรยายเกี่ยวการลงทุนประกอบธุรกิจในสหภาพเมียนมาขอบแนวชายแดน โดยมีกลุ่มตัวแทนทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก สำหรับการเสวนาครั้งนี้ ดร.พิทยา ได้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงว่า เนื่องจากผู้คนได้เทความสนใจไปยังคำว่า AEC มากกว่า จนลืมหันกลับมามองความสำคัญพื้นฐาน โดยความเชื่อมโยงหรืออาเซียนคอมมิวนิตี้ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ หนึ่งคือเสาการเมืองและความมั่นคง เสาที่สองคือเสาเออีซี เสาที่สามคือวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ขณะนี้ทุกคนอาจจะตื่นตัวและเน้นหนักไปที่เออีซี แต่กลับลืมความสำคัญของเสาหลักที่หนึ่งไป นั่นก็คือเสาการเมืองและความมั่นคง เพราะการเมืองจะเป็นตัวนำทุกสิ่งให้ดีขึ้น แต่ในขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ จึงทำให้การเชื่อมโยงหยุดชะงักไป คาดว่าทุกอย่างคงต้องใช้เวลา เมื่อการเมืองไทยมีความชัดเจนในตัวเองและในมุมมองของต่างชาติ การเชื่อมโยง ( connectivity ) จึงจะสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้แล้วดร.พิทยา ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก หรือที่เรียกว่า East-West Economic Corridor: EWEC ซึ่งก็เกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว ซึ่งแต่ละประเทศก็มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ จึงยังไม่สามารถเชื่อมโยงเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นคงจะต้องอาศัยระยะเวลาต่อไป นอกจากการเชื่อมโยง East-West Economic Corridor แล้ว south east corridor ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งเส้นทางนี้ ก็จะมีเมืองท่าสำคัญคือเมืองทวาย ซึ่งในขณะนี้บริษัทข้ามชาติของไทยให้ความสนใจในการจะเข้าไปพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแห่งนี้เป็นอย่างมาก (Special Economic Zone : Tavoy) ซึ่งสิทธิประโยชน์ในการไปลงทุนในเขตนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ หรือลดหย่อนภาษีเงินได้ 50%
“ไทยกับเมียนม่ามีความตกลงร่วมกันที่จะพัฒนาระบบคมนาคม ไปจนถึงท่าเรือทวาย เนื่องจากเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ใหญ่จึงให้รัฐบาลเป็นฝ่ายดำเนินการ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้ไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้ทำความเข้าใจกับประเทศญี่ปุ่น และมีข้อตกลงให้เข้ามาร่วมพัฒนาเขตเศรษฐกิขพิเศษทวาย ซึ่งจะเป็นลักษณะการพัฒนาแบบสามฝ่าย ในระยะนี้ก็คงจะเป็นประเทศญี่ปุ่นที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาก่อนหากประเทศไทยมีความพร้อมมากขึ้นหลังจากปัญหาทางการเมือง การคงเข้ามีบทบาทในการเชื่อมโยงต่อไป” ดร.พิทยา กล่าวในตอนท้าย
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.