ชาวบ้านแห่ ยื่นหนังสือตรวจสอบเจ้าอาวาสวัดป่า เชียงแสน

240

วันที่ 4 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ชาวบ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประทาณ 30 คนได้เดินทางมายังศาบากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อยื่นหนังสือ ขอให้ตรวจสอบพฤติกรรม เจ้าอาวาสวัดป่าแดดตอนแก้ว และเจ้าคณะตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย

โดยมีเนื้อหาในหนังสือว่า “ตามที่ คณะกรรมการวัดป่าแดดดอนแก้ว ได้รับหนังสือศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย ที่ ชร 0017.1/18621 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เรื่อง ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีพระสมบัติ นิสโภ หรือพระครูรัตนคุณพิศิษฎ์ เจ้าอาวาสวัดป่าแดดดอนแก้วและเจ้าคณะตำบลป่าสัก แล้วนั้น

เนื่องจากประชาชนในพื้นที่บ้านป่าแดด ซึ่งเป็นคณะศรัทธาวัดป่าแดดดอนแก้ว ยังมีข้อสงสัย และไม่เห็นเอกสารหลักฐานในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจสอบว่า ได้ตรวจสอบถามหาข้อเท็จจริงใน เรื่องนี้อย่างไรและมีเอกสารใด หรือข้อกฎหมายใด ระเบียบของสงฆ์ข้อใดที่เกี่ยวข้องมาอ้างอิง ซึ่งในเรื่องนี้ ชาวบ้านป่าแดดเกิดความแตกแยก แบ่งกันเป็นกลุ่มฝ่าย และอยู่อย่างไม่สงบสุข ซึ่งข้อสงสัย ดังนี้

  1. ตามหนังสือดังกล่าว ในข้อ 2 ชี้แจงว่า เจ้าภาพประสงค์จะบริจาค 700,000 บาท แต่โอน ตรงเข้าบัญชีของเจ้าอาวาส 600,000 บาท เหตุใดเจ้าอาวาส ไม่ให้ผู้บริจาค โอนเข้าบัญชีของวัด ตามระเบียบ สงฆ์ และวัดมีการจัดทำบัญชีเงินบริจาคอย่างไร ควรเอามาชี้แจงให้ชาวบ้านได้รับทราบ และต่อเมื่อใดวันที่ เท่าไร ที่เจ้าอาวาสถึงจะ โอนเงินมาเข้าบัญชีของวัด ตามหนังสือที่ชี้แจง ซึ่งก็ยังเป็นที่สงสัยของชาวบ้านใน ประเด็นนี้
  2. นอกจากประเด็นที่เจ้าอาวาส มีการเดินทางไปต่างประเทศ ได้ปฏิบัติไปตามคู่มือการ ปฏิบัติการเดินทางไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ.2537 ในหมวดที่ 4 หรือไม่ และเมื่อได้ ตรวจสอบรายชื่อพระภิกษุ ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ (ในเว็บไซต์ Http://Sor TorPor.ORG.com ตามภาพที่แนบ) พบว่ามีชื่อของเจ้าอาวาส ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศในปี พ.ศ.2548, พ.ศ.2552, พ.ศ.2556, พ.ศ.2557พ.ศ.2561 และปี พ.ศ.2565 แต่ในช่วงเวลาที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ที่ วัดหลายเดือน นั้นไม่ปรากฏว่ามีรายชื่อได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ และหากตรวจสอบข้อมูลการ เดินทางออกนอกประเทศกับ สำนักตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ก็น่าจะทราบว่าเจ้าอาวาส เดินทางออกไปนอก ประเทศ อย่างไร
  3. คณะศรัทธาจากจังหวัดสมุทรสาคร ได้เข้าพบพระสมบัติ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ปรึกษาหารือที่จะมาทอดกฐิน และได้ข้อสรุปว่าจะมาทอดกฐินที่วัดป่าแดดดอนแก้วในวันที่ 26 ตุลาคม 2567 ซึ่งทางคณะกรรมการและชาวบ้านก็ได้นำเรื่องนี้เข้าประชุมประจำเดือนในวันที่ 7 มกราคม 2567 โดยได้มีการ แจ้งวัน เวลา กำหนดการสมโภช เพื่อให้ทางเจ้าภาพได้เตรียมการเดินทาง และจองห้องพัก ซึ่งทางเจ้าภาพได้มีการจองรถ (มัดจำค่ารถบัส 50,000 บาท) และข่าวบ้านก็ได้เตรียมจัดงานสมโภช โดยได้ดำเนินการจองและมัด จําการจัดมวยและมหรสพไว้เรียบร้อย แต่ต่อมาวันที่ 19 สิงหาคม 2567 พระสมบัติฯ ได้ขึ้นป้ายเจ้าภาพ ทอดกฐินซึ่งประธานกฐินในป้าย ไม่ใช่เจ้าภาพที่ตกลงกันไว้ จึงได้เกิดความเสียหาย และเคลือบแคลงใจชาวบ้าน ในพื้นที่บ้านป่าแดดและคณะศรัทธาวัดป่าแดดดอนแก้ว
  4. เพื่อเป็นการทำนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา ไม่ให้เกิดความเสียหายเสื่อมศรัทธาไป มากกว่านี้ และคำนึงถึงการประกอบศาสนกิจของที่ชาวบ้านในพื้นที่ ที่มีความศรัทธาต่อวัดป่าแดดดอนแก้ว จึง ขอให้มีคำสั่งให้ พระสมบัติ นิสโภ เจ้าอาวาสวัดป่าแดดดอนแก้ว พ้นจากการเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแดดดอนแก้ว และย้ายไปจำวัดอยู่ที่อื่นต่อไป”

หลังจากยื่นหนังสือแล้วชาวบ้านได้รวมตัวกัน เพื่อต้องการให้มีการดำเนินการโดยเร็วเพื่อต้องการคำตอบและแนวทางแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.