ปลาเรดเทล ในแม่น้ำโขง จากปลาเลี้ยงสู่เอเลี่ยนสปีชี่ หายนะของแม่น้ำธรรมชาติ

282

เมื่อวันที่ 2ตุลาคม2567 ที่ผ่านมา ชาวประมงแม่น้ำโขง บ้านเชียงแสนน้อย ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จับปลาเรดเทลได้ ที่ปากแม่น้ำกก มีขนาดตัว 12 กิโลกรัม ซึ่งจับได้จากการใส่เครื่องมือ ไซลั่นหรือไซขะตั้มซึ่งเป็นอุปกรณ์หาปลาแบบชาวบ้าน ตามวิถีชีวิตของคนลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งปลาเรดเทลตัวนี้เป็นตัวที่ 2 ที่จับได้ในเขตแม่น้ำโขงจังหวัดเชียงราย

ปลาดุกเรดเทล (Redtail Catfish) หรือที่รู้จักในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phractocephalus hemioliopterus เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำแอมะซอนของทวีปอเมริกาใต้ ปลาดุกชนิดนี้ได้รับความนิยมในการนำเข้ามาในประเทศไทยเพราะความสวยงามของมัน โดยเฉพาะหางที่มีสีแดงสด ซึ่งทำให้มันกลายเป็นปลาตู้ที่ได้รับความสนใจจากผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม

ปลาดุกเรดเทลเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงประมาณปลายทศวรรษ 1980 หรือต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่การนำเข้าปลาสวยงามจากต่างประเทศกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักเลี้ยงปลาตู้ในไทย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปลาดุกเรดเทลมีขนาดใหญ่และโตเร็ว หลายคนที่เลี้ยงไว้พบปัญหากับการจัดการที่เหมาะสม ทำให้เกิดการปล่อยปลาชนิดนี้ลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เนื่องจากนิสวัยของมันคือกินทุกอย่างโดยไม่เลือก แม้บางครั้งเหยื่อจะตัวใหญ่กว่ามันก็ตาม มันจะกลืนสิ่งที่มันมองเห็นว่าเป็นเหยื่อทั้งตัวและปล่อยให้ย่อยสลาย ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมในการกินที่สามารถกินได้ทุกอย่างทั้งสิ่งมีชีวิต หรือ ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย แน่นอนว่าไข่ปล่า หรือลูกปลาต่างๆ ก็ตกเป็นอาหารของมันด้วย ทำให้ปลาดุกเรทเทลเป็นปลาเอเลี่ยนสปีชี่ส์อีกลชนิดหนึ่งที่มาจากความมักง่ายของมนุษย์ ที่เลี่ยงไม่ไหวแล้วปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ

ภาพจาก WIKIPEDIA

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.