วันที่ 9 ธันวาคม 2567 ที่ข่วงพะยอม พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒน ธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิต
มงคล อธิการบดี มช. เป็นประ
ธานเปิดงาน “เทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ 2024” ภายใต้ธีม
“ฟื้นใจ๋เวียงเจียงใหม่” Creative Lanna Festival 2024 มีศาสตรา จารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี มช.รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์
กล่าวรายงาน โดยมีสภามหาวิท
ยาลัย คณะผู้บริหาร คณาจารย์
นักศึกษา ประขาชน นักท่องเที่ยวเข้าร่วมจำนวนมาก
จากนั้นมีการแสดงพิธีเปิดขบวนแห่ “การบูชาเวียงเชียงใหม่” Lighting & Mapping และแฟชั่นผ้า มช. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(มข.) มหาวิทยาลัยสงขลานค
รินทร์ (มอ.) หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิด แขกผู้มีเกียรติรับชมบรรยากาศภายในงานดังกล่าว
ต่อมา ได้ประกาศผู้ได้รับรางวัล
ภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา ซึ่งคัดเลือก ตั้งแต่ปี 2552 จวบจนถึงปัจจุบัน รวม 73 ท่าน โดยคัดเลือกจาก
ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และ
มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในด้านศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวล้านนา 6 สาขา เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคคลทั่วไป
ได้ตระหนักถึงคุณค่าของผู้สืบสานวัฒนธรรมล้านนา และเชิดชูเกียรติประวัติแก่ผู้ที่ทำประโยชน์ต่อสังคม
ผลการคัดเลือกของคณะกรรม การ มีผู้ได้รับรางวัลจำนวน 6 ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิ ปัญญา, นายขวัญชัย สุรินทร์
ศรี สาขาภาษาและวรรณกรรม, นายอานันท์ ราชวังอินทร์ สาขาทัศนศิลป์, นายศักดิ์สิทธิ์ เดชเสาร์แก้ว สาขาศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญางานช่างพื้นบ้าน, นางสาวลำดวน สุวรรณภูคำ สาขาศิลปะการแสดงหรือการ
ขับขานพื้นบ้าน และนายแดง พิทำ สาขาสถาปัตยกรรมและ
สิ่งแวดล้อมล้านนา ตามลำดับ
ดร.นพ.พงษ์รักษ์ เผยว่า งานดัง
กลาาว มีการเล่าเรื่องผ่านพิธีบูชาเวียงเชียงใหม่ ที่ได้จากการค้นพบผ่านจารึกและเอกสารโบราณ ซึ่งได้หยิบยกเอาส่วนหนึ่ง คือการจำลองวิธีบูชาเวียงเจียงใหม่ ของอดีตหลายร้อยปีสู่การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของงานเทศกาลภายใต้ 7 Themes สร้างสรรค์ร่วมสมัย อันได้แก่ 1. สุขภาพ (Wellness) 2. สถาปัตยกรรม ศาสตร์ (Heritage) 3. ศิลปะวัฒนธรรม (Art and Craft)
4. เครื่องแต่งกาย (Costume)
5. อาหาร (Gastronomy) 6. เทศกาล (Festival) 7. ดนตรี
และการแสดง (Performing Music and Media)
ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็น
ส่วนหนึ่งการอนุรักษ์ และฟื้นฟู
จิตวิญญาณล้านนา อาทิ ขบวน
แห่จำลองพิธีบูชาเวียงเชียงใหม่ พร้อมด้วยขบวนช่างฟ้อนเครื่อง สักการะ การแสดงศิลปะ และดนตรีล้านนา การฉายภาพ Ligth Mapping และ Installa tion Art สะท้อนเรื่องราวประวัติ ศาสตร์และวิถีชีวิตล้านนา การจัด นิทรรศการ การเวิร์กช็อป
งานหัตถกรรมล้านนาสร้าง
สรรค์ การเสวนา การฉายภาพยนต์กลางแปลง การบรร
เลงดนตรี การแสดงล้านนา
ร่วมสมัย รวมทั้งบูธจัดแสดง
และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
และอาหารท้องถิ่นกว่า 60 ร้าน
ปีนี้ เราได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรหลากหลายสถาบัน
ในการเข้าร่วมจัดกิจกรรม และนิทรรศการต่าง ๆ ภายในงาน อาทิ มช. และ มอ. ภายใต้ความร่วมมือของ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข. – มอ. – มช. “3 พลังเพื่อแผ่นดิน Culture Expedition (A.C.E.) และ Art Bridge 27 สาธารณรัฐเกาหลี โดยกิจกรรมภายในงานเทศกาลล้านนาสร้างสรรค์ Creative Lanna Festival 2024 รวม 7
วัน ตั้งแต่วันที่ 9-15 ธันวาคมนี้ เวลา 10.00 – 21.00 น. จัดขึ้น
ช่วงเดียวกับเทศกาลงานออก แบบเชียงใหม่ งานดังกล่าวเข้า
ชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.