วันที่ 8 ก.ย.59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ อาคารสำนักงานกองทุนหมู่บ้านห้ วยหลวง ม.1 ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย สมาชิกชาวนิคมแม่ลาวและญาติที่ เกี่ยวข้องประมาณ 100 คน ได้ไปจัดประชุมกันเพื่อหาทางแก้ ไขปัญหาเรื่องสิทธิในการอาศั ยอยู่ภายในนิคมแม่ลาว เนื่องจากในปัจจุบันมีการถ่ ายโอนความรับผิดชอบพื้นที่นิ คมแม่ลาวซึ่งถูกจัดสรรให้กับผู้ ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเรื้อนมาตั้ งแต่ปี 2478 ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 6,456 ไร่ จากกรมควบคุมโรคให้ไปอยู่ ในความดูแลของกรมธนารักษ์ ทำให้สมาชิกภายในนิคมเกรงว่ าจะสูญเสียสิทธิที่เคยได้รั บและคนรุ่นลู กหลานจะประสบความเดือดร้ อนจากการถ่ายโอนความรับผิ ดชอบระหว่างหน่วยงานดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมมีมติว่าจะมีการจั ดทำเป็นหนังสือร้องทุกข์และจะนั ดหมายไปยื่นหนังสือต่อหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ คำตอบต่อไป
นายนราวิทย์ คำเงิน ชาวนิคมแม่ลาว กล่าวว่านิคมแม่ลาวดังกล่าวเป็ นที่อยู่อาศัยทำกินของผู้ป่ วยโรคเรื้อนที่รัฐได้กันพื้นที่ ป่าเอาไว้ให้อยู่อาศัยและบุกเบิ กทำกินมานานกว่า 80 ปีแล้วปัจจุบันคงเหลือสมาชิกที่ มีชีวิตอยู่จำนวน 110 คน และมีรุ่นลูกหลานปลูกบ้านเรื อนและทำกินในเนื้อที่ดังกล่ าวเฉลี่ยรายละไม่เกิน 10 ไร่ตามกำลังความสามารถ ซึ่งจากการที่มีประชากรมากขึ้ นและชุมชนขยายตัวทำให้ภายในนิ คมมีหมู่บ้านอยู่ด้วยกันจำนวน 2 หมู่บ้านคือ ม.1 และ ม.11 ต.ธารทอง มีประชากรรวมกันประมาณ 500 กว่าคน โดยถือเป็น 1 ใน 11 นิคมโรคเรื้อนที่รัฐให้การช่ วยเหลือไว้ทั่วประเทศภายใต้ การสนับสนุนของมูลนิธิ ราชประชาโดยผู้ป่วยจะได้รับเงิ นช่วยเหลือเดือนละ 4,500 บาท และให้ทางมูลนิธิรวมทั้งหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะให้การช่ วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น อาชีพ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ
นายนราวิทย์ กล่าวอีกว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่ านมาไม่เคยเกิดปัญหากระทั่งปี 2555 ได้มีการถ่ายโอนพื้นที่ไปอยู่กั บกรมธนารักษ์ทำให้มีการเก็บค่ าเช่าที่ดินจากผู้อยู่อาศัย และประชาสัมพันธ์ว่าหากผู้ป่ วยคนใดออกจากนิคมแม่ลาวก็จะได้ รับสิทธิเพิ่มเติมเป็นเงินค่ าอาหาร ค่าสงเคราะห์และค่าผู้สูงอายุ ลักษณะเหมือนจะให้ยุบนิมแม่ ลาวและให้ไปตั้งเป็นชุมชนพึ่ งพาตัวเองซึ่งพวกตนเห็นว่าไม่ เป็นธรรม เพราะผู้ที่ไปอยู่แต่เดิมล้ วนเป็นผู้ป่วยที่พึ่งตัวเองไม่ ได้และคนในสังคมอดีตไม่ค่อยให้ การยอมรับทำให้ต้องไปบุกเบิกอยู่ ในพื้นที่ป่าเขาห่างไกลดังกล่าว กระทั่งปัจจุบันมีการจับจองพื้ นที่ทำกินและอยู่อาศัยถึงรุ่นลู กหลานจึงควรแก้ไขปัญหาด้วยวิธี อื่นมากกว่าให้ยุบนิคมไปเลย เช่น ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ไปดูแล คงความเป็นนิคมแม่ลาวเอาไว้ต่ อไป เป็นต้น
ด้านนายคเชนทร์ บุญมีลาภ กล่าวว่าปัจจุบันเจ้าหน้าที่มี ลักษณะเหมือนต้องการยุบนิคมแม่ ลาวอย่างเป็นทางการออไปเสีย ทำให้พวกตนไม่มั่นใจในสิทธิที่ เคยได้รับและอยากได้คำตอบที่ชั ดเจนจากภาครัฐว่าจะดำเนินการกั บนิคมแม่ลาวแห่งนี้อย่างไรต่อไป ทั้งนี้ภายในใจของพวกตนคือไม่ อยากให้ยุบนิคมแม่ลาวและสงสัยว่ าสิทธิต่างๆ ที่จะได้รับหากว่าต้องออกจากนิ คมไปจะเป็นอย่างไร
นางมาเรีย พรมเต็ม ชาวนิคมแม่ลาวอีกคนกล่าวว่าที่ ผ่านมาเคยยื่นร้องทุกข์ไปยังหน่ วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานทั้ งสำนักนายกรัฐมนตรี ทหาร ศูนย์ดำรงค์ธรรม จ.เชียงราย ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้คำตอบที่ชั ดเจนและกลับได้รับหนังสือแจ้ งจากกรมธนารักษ์ให้ไปเสียค่าเช่ าที่ดินที่อยู่อาศัยทำกินเสียอี ก ทำให้พวกตนมีความกังวลและทุกข์ ใจในอนาคตอย่างมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าท้ายที่สุ ดที่ประชุมมีมติให้จัดทำหนังสื อมีเนื้อหาเรียกร้องเรื่องพื้ นที่ทำกินเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ป่ วยและทายาทภายในนิคมแม่ลาว และเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุ ษยชนกรณีสิทธิต่างๆ ที่ได้รับรับให้คงอยู่ต่อไป ขณะเดียวกันนำเสนอผลดีของการมี ชุมชนนิคมแม่ลาวว่าสามารถปกป้ องดูแลป่าในพื้นที่ได้เนื่ องจากที่ผ่านมาเมื่อเป็นนิคมแม่ ลาวชาวบ้านจะช่วยกันดูแลรักษาป่ าในเขตนิคมโดยมีเจ้าหน้าที่หน่ วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปดูแล แต่หากไม่มีชุมชนนี้แล้วก็เสี่ ยงต่อการถูกบุกรุกโดยพบเห็นกลุ่ มทุนได้เข้าไปติดต่อกับชาวบ้ านบางส่วนเพื่อจะเข้าไปบุกรุกพื้ นที่กรณีไม่มีนิคมแห่งนี้แล้ว.
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.