วันที่17กรกฎาคม60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนาวิน มหาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยประมงอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา นางสาวรัชฎาพร หงษ์หิน ผู้จัดการสหกรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำเมืองพะเยา จำกัด ได้ลงพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อติดตามผลการเลี้ยงปลาของชาวบ้าน หลังจากทางประมงจังหวัดพะเยา ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตปลานิลของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน2 โดยประมงจังหวัดพะเยา ได้ส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลที่เป็นระบบ มีการวางแผนทุกขั้นตอน ซึ่งมีกลุ่มผู้เลี้ยงปลาที่เจ้าร่วมโครงการมาจากสมาชิก สหกรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำเมืองพะเยา จำกัด ทั้งหมด153ราย ซึ่งจะทำให้การส่งขายปลานิลที่นี้ ได้กำไรมากขึ้น และที่สำคัญคือปลาไม่ล้นตลาด รวมทั้งส่งขายในต่างประเทศได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการอบรมและให้ความรู้ผู้เลี้ยงปลา ซึ่งจะมี ทางสหกรณ์ฯ เป็น พี่เลี้ยงอีกทอดหนึ่ง
โดยที่บ่อปลาของ นายสมิง อ้อยหวาน อายุ69ปี อยู่บ้านเลขที่272หมู่7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบว่ากำลังให้อาหารปลาโดยให้อาหารเพียงจุดเดียว ซึ่งก่อนให้นั้น เคาะถังที่ใส่อาหารปลาให้เกิดเสียง เพื่อให้ปลาในบ่อที่เลี้ยงเอาไว้ ว่ายน้ำมากินอาหาร ก่อนที่จะโปรยอาหารลงในบ่อ ซึ่งการให้อาหารปลาเช่นนี้จะสามารถสังเกตถึงขนาดของตัวปลาได้อย่างชัดเจน และดูถึงความเปลี่ยนแปลงของปลาภายในบ่อ เพราะการเลี้ยงปลานิลที่นี้จะถูกวางแผนทุกอย่างตั้งแต่เลี้ยงจนถึงการขาย ส่วนปลานิลที่เลี้ยงตามบ่อนั้นจะเลี้ยงตามขนาดของบ่อ ตั้งแต่บ่อละ3,000-8,000ตัว
นายสมิง กล่าวว่า การเลี้ยงปลานิลให้ได้คุณภาพ และราคาที่ดีของเกษตรกรนั้น จะต้องมีการวางแผนที่ชัดเจน และร่วมกันทั้งสหกรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำเมืองพะเยา ทางประมงจังหวัดพะเยา ในการสนับสนุนการวางแผนและงบประมาณ เพื่อให้เกิดคุณภาพที่ดีของปลานิล จะให้ชาวบ้านเลี้ยงกันเองคงไม่เกิดประโยชน์แถมซ้ำจะเกิดปัญหาตามมาอีกมาก
นายนาวิน มหาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมงจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ทั้งนี้หลังจากมี่การดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ของการวางแผนและเข้าถึงชาวบ้านในการเลี้ยงปลานิลที่นี้ จึงทำให้ปลานิลที่จังหวัดพะเยาออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่องวันละ4ตัน และยังมีตลาดต่างประเทศสนในที่จะซื้อปลานิลไปบริโภค ทั้งเมียนมาและสปป.ลาว เนื่องจากปลานิลที่บ้านต๊ำ จะจับตามกำหนดเวลาที่ชัดเจนจน คือ ระละเวลาจับ6เดือน จับ1ครั้ง จนได้รับมาตราฐานGAP
ซึ่งการวางแผนการเลี้ยงปลานิล มาจากการส่งเสริมการเลี้ยงปลาให้ได้คุณภาพของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน2 ที่ได้รับงบประมาณ 2,088,750 บาท ซึ่งสามารถต่อยอดในการดำเนินการส่งเสริมเลี้ยงปลานิลได้ นำเอาอาชีพที่เหมือนกันมาส่งเสริมให้หลากหลายรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะสามารถขายได้ควบคู่กันไปจนไม่เกิดปัญหาราคาตกต่ำ จนกลายเป็นอาชีพที่ยั่งยืน
นางสาวรัชฎาพร หงษ์หิน ผู้จัดการสกหรณ์เลี้ยงปลาบ้านต๊ำ จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของการวางแผนนั้น ก็จะเริ่มจากการศึกษาพื้นที่เลี้ยงที่มีน้ำผ่านตลอดทั้งปี วางแผนการเลี้ยงปลาในเรื่องจำนวน การดูแล รวมทั้งการให้อาหาร และการวางแผนที่สำคัญคือการตลาด ที่จะนำปลานิลออกขาย ทั้งนี้ทางสหกรณ์เองก็ได้มีการสนับสนุนเรื่องของ เครดิตอาหารปลาให้สมาชิกทุกราย พร้อมออกเยี่ยมพบปะกับเกษตรกรเป็นประจำ เพื่อทราบถึงปัญหา เพื่อนำกลับมาวิเคราะห์ก่อนให้คำปรึกษาตามขั้นตอนต่าง ๆ จึงทำให้การส่งขายปลาที่ผ่านสหกรณ์ฯ ไม่ล้นตลาดและยังสามารถขายได้ตลอดทั้งปี //////
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.