ที่ห้องคำมอกหลวง อาคารเอ็มสแควร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย ดร.พนม วิญญายอง รองอธิการบดี มฟล.เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ หรือ IDEA 2 Product โดยโครงการจัดขึ้นโดย มฟล.ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรม จ.เชียงราย เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับต่างๆ และผู้ประกอบการในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่และน่าน) ได้คิดค้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติจริงและประเมินความเป็นไปได้ในการนำนวัตกรรมดังกล่าวสู่ตลาด โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมจำนวน 74 ทีม จำนวน 82 ไอเดีย เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและได้รับการจดสิทธิบัตร ใสนแต่ละความคิดเพื่อนำมาต่อยอดเป้นผลิตภัณพ์ที่มีคุณภาพ
ดร.พนม วิญญายอง รองอธิการบดี มฟล. กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 มุ่งพัฒนาให้มีการผลิตอาหารคุณภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งในฐานะที่ มฟล.ได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการ จึงได้ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรม จ.เชียงราย จัดกิจกรรมครั้งนี้ขึ้นโดยเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชหลักๆ ในพื้นที่ เช่น ข้าว ชา กาแฟ โดยให้คนทุกระดับได้คิดค้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นของตัวเองให้เพิ่มมูลค่าและตลาดได้ แต่เนื่องจากปีนี้จัดเป็นปีแรกจึงจัดให้มีเพียงระดับ ปวช.ขึ้นมาตามลำดับดังกล่าว แต่ไอเดียที่ได้หากว่าสามารถนำเข้าสู่ตลาดได้จริงก็จะให้กลับมาปรึกษาหารือกับ มฟล.และผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเป็นสินค้าได้ต่อไป
ด้านอาจารย์การะเกด นันทศรีนนท์ รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานจัดการทรัพย์สินีทางปัญญาและพัฒนานวัตกรรม กล่าวว่ากิจกรรมตามโครงการดำเนินการมาต้งแต่วันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมาโดยมีการจัดการฝึกอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น อาจารย์จาก มฟล.ผู้ทรงคุณวุฒิจากซีพีออล์ และจัดการแข่งขันไอเดีย ทู โปรดักส์ แบ่งเป็นผู้ประการ 13 ทีม 14 ไอเดีย และทีมนักศึกษา 61 ทีม 69 ไอเดีย โดยมีคณะกรรมการดูแลกแข่งขันกระทั่งมีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระหว่างวันที่ 17-19 ก.ค.นี้ ซึ่งพบว่ามีผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งหมด 16 ทีม 18 ไอเดีย คาดหวังว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาพผู้ประการในอนาคตต่อไป
สำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการคิดค้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของตัวอย่างหลากหลายและน่าสนใจ เช่น ทีมรถด่วนเสนอวิธีการจัดทำ “ผักคืนชีพ” ด้วยการใช้เทคนิคการทำให้ผักแห้งเย็นเพื่อให้ได้ผักที่เก็บได้นาน 6 เดือน สามารถนำมาแช่น้ำและปรุงได้โดยมีคุณค่าของพืชผักเหมือนเดิมโดยเน้นกลุ่มเป้าหมายต่างประเทศและสังคมเมืองที่หาผักสดรับประทานได้ยากและไม่มีเวลาปรุงอาหาร ทีมฮ่อมลงจอยที่เสนอการนำแตงเมลอนมาทำเป็นแยมโดยผสมกับถั่วดาวอินคาเพื่มเพิ่มคุณค่าอาหารและแยมชนิดนี้มีปริมาณน้ำตาลน้อยและปลอดสารเคมีหรือออแกนิคส์ รวมทั้งบรรจุในผลิตภัณฑ์ทั้งแบบขวดและหลอดด้วย นอกจากนี้ยังมีผู้คิดค้นนวัตกรรมที่น่าสนใจ เช่น นำชาอู่หลงผสมกับสารกาบาจากข้าวเพิ่มคุณค่า การใช้อินทผาลัมแทนน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจ เป็นอย่างมาก.
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.