วันที่ 9 ส.ค.65 ที่ป่าชุ่มน้ำบ้านป่าข่า ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต นายไกรทอง เหง้าน้อย นายพิศนุกรณ์ ดีแก้ว นายพิชเญศพงษ์ คุรุปรัชญามรรค เจ้าหน้าที่ภาคสนามสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ร่วมกับ เครือข่ายชุมชนสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงตอนปลาย ร่วมกันรักษาถิ่นที่อยู่ และถิ่นอาศัยนากน้ำในพื้นที่ ในพื้นที่ชุ่มน้ำรวมทั้งระบบนิเวศสาขา ผ่านกองทุนบ้านนากลุ่มน้ำอิง ได้มอบเงินกองทุนนากให้กับ โดยมี 6 ชุมชนนำร่องการสร้างและรักษาระบบนิเวศเพื่อถิ่นที่อยู่อาศัยของนากน้ำ เพื่อใช้บริหารจัดการและอนุรักษ์นาก ในพื้นที่คือ ชุมชนบ้านป่าข่า ชุมชนบ้านห้วยสัก ชุมชนบ้านป่าบง ชุมชนบ้านงามเมือง อำเภอขุนตาล และ ชุมชนบ้านบุญเรืองใต้ ชุมชนบ้านม่วงชุม อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
นายสอน เทพสมบัติ ผู้ใหญ่บ้านป่าข่า หมู่ 8 ต.ป่าตาล กล่าวว่า ความเป็นมาของการอนุรักษ์นาก ที่ต้องอยู่กับคน เนื่องจากตอนนี้ทรัพยากรนากใกล้จะหมดไป หรือหายากมากในแล้ว สมควรที่จะอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชนิดนี้ไว้ เพราะในอนาคตลูกหลายเราจะไม่ได้เห็นแม่แต่สภาพของตัวนาก หรือว่านากเป็นแบบไหน ซึ่งทางสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ป่าชุ่มน้ำแม่น้ำแม่น้ำอิงมาช่วยในการอนุรักษ์และดูแลสัตว์น้ำประเภทนี้ไว้ให้ลูกหลายได้เห็นในวันข้างหน้าได้รู้จักสัตว์น้ำที่อยู่กับผู้คนมาโดยตลอด
“นากเป็นตัวชี้วัดว่า หากชุมชนใดมีนาก ชุมชนนั้นจะมีความอุดมสมบูรณ์เรื่องสัตว์น้ำอยู่มาก แต่ว่าหากไม่มีนากอยู่ในชุมชนนั้นแสดงว่าชุมชนนั้นไม่มีความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ปลา และระบบนิเวศในในแหล่งน้ำนั้น” ผู้ใหญ่บ้านป่าข่า หมู่ 8 ต.ป่าข่า กล่าว
สำหรับนากน้ำในประเทศไทยพบนากทั้งหมด 4 ชนิด นากเล็กเล็บสั้น ( Aonyx cinerea ) นากใหญ่ขนเรียบ ( Lutrogale perspicillata ) นากใหญ่ธรรมดา หรือ นากยุโรป ( Lutra lutra ) และนากจมูกขน ( Lutra sumatrana ) จากการติดตามพฤติกรรมของนากน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลาย จากการเก็บ มูล สอบถามพรานปลาและผู้พบเห็น ทั้งการติดตังกล้องดักจับภาพ ( Camera trap ) พบการกระจายตัวของนากน้ำตามระบบนิเวศสาขาแหล่งน้ำตามช่วงฤดูกาล พบอยู่ อ่างเก็บน้ำ หนองน้ำ ร่องน้ำ ลำห้วย ระบบนิเวศย่อยของแม่น้ำอิง ป่าชุ่มน้ำฮิมอิง แหล่งที่พบนากน้ำยังบ่งชี้ถึงความสมบูรญ์ของระบบนิเวศ และความหลากหลาย นากยังเป็นตัวช่วยยืนยันถึงความสมบูรญ์ของพื้นที่ที่ยังหลงเหลืออยู่
จากการทำวิจัย ของสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการนิเวศวิทยาการอนุรักษ์ ศูนย์วิจัยสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยกานสนับสนุนของ องค์กร SE (Synchronicity earth) โดยศึกษาประชากรนากจากการตั้งกล้องดักถ่าย camera tab และการพิสูจ Dna ผ่านมูลและชิ้นส่วน ตัวอย่างนาก และการศึกษาความสัมพันธ์ ของคนกับนาก ซึ่งพบว่า นากที่พบในลุ่มน้ำอิง เป็นนากชนิดใด
ส่วนกรณีความขัดแย้งคนกับนากที่เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจาก ทั้งการล่าเป็นอาหาร รวมทั้ง การแย่งชิง อาหารคือปลา ในแม่น้ำอิง ซึ่งนากได้ทำลายอุปกรณ์หาปลาของพรานปลา ในแต่ละปีมีความเสียหาย มีมูลค่าสูง และยังมีภัยคุกคาม จากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ลถ่มน้ำอิง และการเปลี่ยรแปลงภูมิอากาศ ส่งผลต่อแหล่งอาหารจำกัด ปริมาณ ปลาลดลง ยิ่งเพิ่มความขัดแย้งมากขึ้น จากข้อเสนอของชุมชนและกลุ่มพรานปลา ถึงการที่ต้องอยู่ร่วมกัน จึงมีการเสนอนำร่อง กำหนดพื้นที่ปลอดภัยของนาก หรือที่เรียกว่า บ้านนากในลุ่มน้ำอิงตอนล่าง เริ่มต้น 3 ชุมชน ที่ประกาศ ชุมชนบ้านนาก และจะยายผลไปอีก 3 ชุมชน ในระต่อไป บ้านนากก็คือการดูแลแหล่งที่อยู่ แหล่งอาหาร ลดภัยคุกคาม ที่ส่งผลต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำและประชากรนาก กองทุนบ้านนากนี้ จะสนับสนุนชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูฐานทรัพยากร ลุ่มน้ำอิง ทั้งการทำเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การเพิ่มปริมาณปลาในแหล่งน้ำ เพื่อให้นากมีพื้นที่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยร่วมกันกับชุมชนได้
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.