ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 นายสายัณห์ กาวีวงศ์ หน.ปภ. แพร่ รายงานสถานการณ์อุทกภัย ได้รับผลกระทบ 4 อำเภอ 7 ตำบล 17 หมู่บ้าน 84 ครัวเรือนตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในระยะนี้ อันเนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดแพร่ได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมดังกล่าว ทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่
นายสายัณห์ กาวีวงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดแพร่ดังนี้ วัน 9 ตุลาคม 2566 เวลาประมาณ 01.00 น. ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดแพร่ ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตร เบื้องต้นได้รับผลกระทบ จำนวน 4 อำเภอ 7 ตำบล 17 หมู่บ้าน 84 ครัวเรือน ทั้งนี้ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
อำเภอสอง ได้แก่ตำบลห้วยหม้าย หมู่ที่ 6 , 7 , 9 , 10 , 14 รวม 13 ครัวเรือน ผลกระทบจากน้ำเอ่อล้นเข้าร่วมบ้านเรือนราษฎร ตำบลทุ่งน้าว หมู่ที่ 1 , 2 , 6 ตำบลบ้านหนุน หมู่ที่ 7 ตำบลแดนชุมพล หมู่ที่ 1 อำเภอเมืองแพร่ ได้แก่ตำบลห้วยม้า หมู่ที่ 4 ,7 , 11 , 13 รวม 66 ครัวเรือน ผลกระทบจากน้ำเอ่อล้นเข้าบ้านเรือนราษฎร อำเภอหนองม่วงไข่ ได้แก่ตำบลตำหนักธรรม หมู่ที่ 4 , 5 รวม 5 ครัวเรือน ผลกระทบ ข้าวโพด 10 ไร่
ที่บ้านทุ่งล้อม หมู่ 9ต.ห้วยม้า อ.เมืองแพร่ ที่บ้านเลขทีท1/5หมู่ 9 นายปรีชา เมธีพิฐกุล อายุ 70ปี อดีตรนายกอบต.ห้วยม้า กล่าวว่านับเป็นการท่วมหนักในรอบ 53ปี น้ำมาจากห่วยแม่เติก แม่ถาง ห้วยม้า ห้วยฮุง น้ำเหล่านี้ก็จะไหลลงสู่น้ำแม่คำมี แม่หล่ายไหลลงน้ำยม ชาวสุโขทัยก็เตรียมรับมือไว้อีกครั้ง
ขณะเดียวกัน นายสมบัติ กาโนมัย นายกอบต.ห้วยม้าได้ประสานกับนายผิน สิงห์เทพ ส.อบจ.แพร่ เขค 5 อ.เมืองแพร่นำเครื่องจักรกลไปรอกลื้อสิ่งกีดขวางน้ำให้เปิดทางน้ำให้ไหลสะดวกไม่ให้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้าน
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.