ขอนแก่นติวเข้มผู้บำบัดยาเสพติด หวังออกไปมีงานทำและเลี้ยงดูตัวเองได้ สอนวิธีเลี้ยงปลาดุก-กบเนื้อ แบบครบวงจร “ชินกร”เผยใครตั้งใจทำจริงพร้อม ประสาน ปปส.สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างอาชีพทันที

1

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ศูนย์ฟื้นฟูผู้บำบัดยาเสพติด หรือ (Community Isolation: CI) อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ซึ่งตั้งอยู่ริมตรงข้ามวัดป่าแสงอรุณ ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายชินกร แก่นคง นายอำเภอเมืองขอนแก่น เป็นประธานเปิดการอบรมการเรียนรู้วิธีเลี้ยงกบพันธุ์เนื้อและปลาดุกอุย ซึ่ง อ.เมืองขอนแก่น ร่วมกับ เทศบาลตำบลพระลับ,เทพารักษ์ฟาร์ม และ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้นโดยมี นายพงศ์ธร พิศาพิทักษ์กุล นายกเทศมนตรีตำบลพระลับ,นายชัชวาลย์ พรอมรธรรม กรรมการ บริษัท ขนส่ง จำกัด(มหาชน) หรือ บขส. และเจ้าของเทพารักษ์ฟาร์ม ,นายชวลิต จันทร์ศิริไพบูลย์ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพี) ,นายนิทัศน์บุญพร้อม ผญบ.บ.เลิงเปือย ม.9 ต.พระลับ และนายวงศ์วัฒน์ วรพันธ์ ประธานสภาเทศบาลตำบลพระลับ นำผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดภายในศูนย์ฯรวมกว่า 50 คนเข้าร่วมรับการอบรมอย่างพร้อมเพรียง
นายชินกร แก่นคง นายอำเภอเมืองขอนแก่น กล่าวว่า รัฐบาลได้เน้นหนักและย้ำชัดในมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่ง จ.ขอนแก่น ได้ดำเนินงานครอบคลุมทั้ง 26 อำเภอโดยมีผลการดำเนินงานตรวจค้น กวาดล้างและปราบปรามอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการบำบัรักษาที่มีการนำผู้เสียเข้ารับการบำบัด ซึ่งศูนย์ฟื้นฟูผู้บำบัดยาเสพติด อ.เมืองขอนแก่น ปัจจุบันมีผู้ที่ผ่านการประเมินจากแพทย์ ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำบัด รวมกว่า 50 คน ดังนั้นในกิจกรรมที่อำเภอ ร่วมกับเทศบาลฯและหน่วยงานที่รับผิดชอบ นอกจากการบำบัดรักษาแล้วยังคงมีการเพิ่มในเรื่องของการเรียนร็ด้านทักษะอาชีพ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและเล่นกีฬาตามที่ทุกคนถนัด ดังนั้นวันนึ้งเป็นจุดเริ่มต้ในการเฟ้นหาผู้ที่เข้ารับการบำบัดและต้องการอาชีพเพื่อกลับไปเลียงดูตัวเองและครอบครัว จะได้ไม่มีเวลามายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดจึงกลายมาเป็นจุดสาธิจการเรียนรู้การเลี้ยงกบเนื้อและปลาดุกอุย โดยทีมวิทยากร จาก บจม.ซีพี และเทพารักษ์ฟาร์ม ได้สละเวลามาสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ การสร้างโรงเรือน บ่อเลี้ยงปลาและกบ และที่สำคัญที่สุดคือการพาผู้ที่เข้ารับการบำบัดได้ลงมือทำและปฎิบัติจริงทุกคน
“ขณะนี้การจัดทำบ่อสาธิตการเลี้ยงปลาและเลี้ยงพบด้านหลังศูนย์ฯมีความคืบหน้าไปมากกว่าร้อยละ 90 ดังนั้นวันนี้ทีมวิทยากร จึงได้มาสอนด้านวิชาการการเลี้ยงและเทคนิควิธีการเลี้ยงมีการตรวจสภาพน้ำ และเรื่องอาหารสัตว์และเทคนิคการเลี้ยงต่างๆแบบไม่หวงวิชา และสัปปดาห์หน้า จะเริ่มปล่อยลูกกบและลูกปลาเพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดได้เลี้ยงตามหลักวิชาการที่ได้ทำการเรียนการสอนมา ซึ่งนอกจากจะสร้างอค์ความรู้แล้วจะทำให้ศูนย์มีคลังอาหารจากการเลี้ยงปลาและกบอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากพบว่าผู้ที่เข้ารับการบำบัดรายใดที่ผ่านการประเมินให้กลับบ้านได้แวนั้น หากต้องการจะเข้าสู่การสร้างอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปลาและกบ หรืออาชีพต่างๆที่สนใจอำเภอพร้อมที่จะประสานงานร่ม ปปส. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาให้เป็นทุนสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคมอีกด้วย”
ขณะที่นายชัชวาลย์ พรอมรธรรม กรรมการ บริษัท ขนส่ง จำกัด(มหาชน) หรือ บขส. และเจ้าของเทพารักษ์ฟาร์ม กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้โอกาสและสร้างโอกาส ดังนั้นวันนี้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดทุกคนได้รับโอกาส และเข้าสู่การเรียนรู้ที่สร้างอาชีพได้ เพราะอาหารเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี วันนี้แม้จะเริ่มจากการเลี้ยงกบ และปลาดุก ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่กำลังเป็นที่นิยมและชื่นชอบของตลาด โดยจะต้องเลี้ยงตามเทคนิควิธีและขั้นตอนตามที่วิทยากรและครุผู้สอนกำหนด โดยได้มีการแบ่งกลุ่มให้ผู้เข้ารับการบำบัดรับผิดชอบแยกเป็นบ่อกบ 4 บ่อ บ่อปลา 2 บ่อ มอบหมายให้รับผิดชอบบ่อละขั้นต่ำ 4 คนทำการเลี้ยงตั้งแต่ลูกกบและลูกปลา การให้อาหาร การวิเคราะห์และตรวจสภาพน้ำ การดูเรื่องสภาพอากาศและสภาพของสัตว์ที่เลี้ยงแต่ละวัน ตามตารางที่กำหนดให้ เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการกำหนด จากนั้นจะจำหน่ายหรือรับประทานกันเองภายในศูนย์ฯก็สามารถที่จะทำได้ หรือต้องการที่จะเรียนรู้วิธีการแปรรูป หรือการชำแหละ หรือการรักษาคุณภาพของปลาและกบ ฟาร์มก็จะจัดกระบวนการการเรียนการสอนให้อีกครั้ง

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.