“หมอทศพร” ควง “หมอเชิด” ตรวจศูนย์หัวใจภาคอีสาน ตอกย้ำการให้การบริการแบบครบวงจร

250

เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 27 ก.ย.2567 ที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. นายทศพร เสรีรักษ์ ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ ประธานคณะ กมธ.การสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในฐานะที่ปรึกษา คณะ กมธ.สาธารณสุข นำคณะ กมธ.สาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานของศูนย์หัวใจสิริกิต์ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มีประชาชนมาขอรับการบริการด้านการรักษาหัวใจ มากที่สุดในภาคอีสาน โดยมี รศ.นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวช คณะบดีคณะแพทยศาสตร์ มข. และ ผอ.ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ นำคณะผู้บริหาร พร้อมด้ยคณะแพทย์ และพยาบาล และบุคลากรทางการแทพย์ ร่วมให้การต้อนรับ
นายทศพร เสรีรักษ์ ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ ประธานคณะ กมธ.การสาธารณสุข กล่าวว่า ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคอีสาน เป็นสถานพยาบาลที่มีประชาชนเข้ามาขอรับบริการในแต่ละวันจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นลำดับต้นๆจของภาคอีสานที่มีการรักษาโรคหัวใจที่ครบวงจร ขณะที่การพัฒนา สนับสนุนและสงเสริม ในด้านต่างๆยังคงมีขีดที่จำกัด โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่กำลังเป็นประเด็นที่กำลังพูดถึงกัน จากการเบิกจ่ายของ สปสช. ซึ่งหากจะมีใช้แบบถัวเฉลี่ยก็จะประสบปัญหาในขั้นตอนของการบริหารจัดการ ดังนั้นประเด็นนี้กรรมาธิการจะหารือและหาทางออกร่วมกันภายในกระทรวง และ สปสช.ว่าอะไรที่เหมาะสมและอะไรต้องแก้ไขเพื่อให้การเข้าถึงสิทธิ์การรักษาพยาบาลของคนไทยนั้นเป็นไปอย่างเท่าเทียมและตรงตามนโยบายที่กำหนดไว้
“ ตอนนี้มีการพูดถึงเรื่องการเบิกจ่าย ระหว่างสถานพยาบาลกับ สปสช. ซึ่งเราต้องคุยกันแลหาทางออกให้เร็วที่สุด วันนี้คณะ กมธ.สาธารณสุขมาลงพื้นที่จริง ตรวจสอบจริงและสอบถามจริงกับผู้ปฎับิตงาน ซึ่งพบว่ายังคงมีช่องว่างและสิ่งที่ต้องเติมเต็มในหลายด้าน โดยเฉพาะสภาพคล่องทงการเงินที่อาจจะติดขัดเรื่องการเบิกจ่ายๆรือ การหารือถึงวงเงินของกลุ่มโรคเฉพาะทาง รวมทั้งอัตรากำลัง หรือเครื่องมือและอปกรณ์ต่างๆ ซึ่งบางอย่างที่ยังคงไม่เพียงพอกับการให้บริการประชาชน ทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ กมธ.ได้รับทราบและจะเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาหารือร่วมกันทุกฝ่าย”
นพ.ทศพร กล่าวต่ออีกว่า คณะ กมธ.สาธารณสุข จะลงพื้นที่สถานพยาบาล ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และทุกขานเพื่อรับทราบถงปัญหาและความต้องการพื่อนำไปสู่การแก้ไข โดยเฉพาะกับงบประมาณที่อาจจะไม่ต้องถัวเฉลี่ยแต่จะเป็นเฉพาะโรคเฉพาะทาง ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพราะแม้งบจาก สปสช.จะลดลงแต่เรายังมีงบกลาง และงบประมาณของกระทรวงฯ ที่นำมาแก้ปัญหาหรือดำเนินการตามสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.