หม่อมอุ๋ยกล่าวปฐกาฐาร่วม รมว.ท่องเที่ยวเมียนมา ชี้เการเชื่อมโยงการค้าไทยก้าวเร็มากใน 5 ปีที่ผ่านมา ในเมียนมากระเตื้องเพราะการท่องเที่ยวที่กำลังขยายตัว
วันที่ 24 ก.ค.58 ที่อาคารวนาสวรรค์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อ.เมือง จ.เชียงราย หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี อู เท ออง รมว.กระทรวงโรงแรมและท่องเที่ยว ประเทศเมียนมา ได้กล่าวปาฐกถาในการประชุมวิชาการนานาชาติ Next Generation ASEAN+3 Connectivity “Trends and Opportunities in Business and Logistics Management” โดยมีนักวิชาการ นักธุรกิจ ประชาชน เข้ารับฟังประมาณ 150 คน โดยการประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติครั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานรวม เพื่อเพิ่มความได้เปรียบเชิงธุรกิจของไทยทั้งในและต่างประเทศก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล กล่าวว่า ประเทศไทยและกลุ่มอาเซียนยังคงเป็นพื้นที่เพื่อการลงทุนร่วมกันในอนาคต เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งไม่ต้องมีอัตราภาษีระหว่างกันมาก โดยแต่ละประเทศก็มีเอกลักษณ์ คุณสมบัติด้านการค้าการลงทุน ชนิดสินค้า ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ประเทศไทยมีเส้นทางคมนาคมที่เป็นศูนย์กลางของภุมิภาคที่สะดวกสามารถเชื่อมภูมิภาคและไปถึงจีนตอนใต้ได้
ขณะที่สินค้าไทยก็มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงหลายอย่าง จากการเป็นเออีซี บวกกับประเทศต่างๆ จะทำให้มีแนวโน้มและโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวได้อีกมาก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้ให้มากเพราะหัวใจสำคัญอีกประการคือกระบวนการในการบริหารจัดการซึ่งการเชื่อมโยงทางการค้า และการเชื่อมโยงทางการผลิต มีการเติบโตที่รวดเร็วมาก โดยใน 5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตถึง 4 เท่าตัว โดยการเติบโตของประเทศไทยนั้นก็ได้รับผลมาจากการเติบโตของ ASEAN โดยในภูมิภาคนี้มีทั้ง high end product และ low end product โดย product ของประเทศหนึ่งๆ ก็จะไปเป็น raw mat ของอีกประเทศหนึ่ง โดยจุดเริ่มต้นของการผลิตนี้อยู่ที่ประเทศกำลังพัฒนา ค่าแรงของประเทศกำลังพัฒนานั้นต่ำกว่าและ productของประเทศกำลังพัฒนาก็สามารถขายต่อให้แก่ประเทศที่มีการพัฒนาน้อยกว่าได้ ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งดึงดูดนักลงทุน และนำไปสู่การตั้งเป็นเขตการค้าเสรี (FTA) เป็นการสร้างอาชีพแก่พลเมืองและทำให้ประเทศเติบโตขึ้นอีก ซึ่งหลายๆประเทศใช้รูปแบบการพัฒนาที่เริ่มต้นจากเศรษฐกิจเกษตรกรรมแล้วจึงก้าวสู่การเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยการขยายฐานการผลิตสู่ต่างประเทศทำให้ตลาดกว้างขึ้น เกิดรายรับมากขึ้น และนำมาซึ่งการเติบโตของประเทศนั้นๆ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเริ่มต้นจากเศรษฐกิจเกษตรกรรม แต่เนื่องจากญี่ปุ่นมีพื้นที่เพาะปลูกอย่างจำกัด จึงได้ขยายฐานการผลิตสู่บราซิล จีน และไทย และทำการค้าขายกับประเทศอื่นๆทั่วโลก ทำให้เกิดรายรับเข้าสู่ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก
“ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รุดหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ทำให้เรากลับมาคิดว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการใดที่เคยเป็นที่นิยมในอดีตในประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 80-90 ก็อาจเป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในขณะนี้ด้วยด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือบริการเหล่านี้ก็กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับสินเชื่อรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ได้เข้าไปเริ่มดำเนินกิจการในประเทศเวียดนาม เพื่อให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์แก่ลูกค้าชาวเวียดนาม ซึ่งขณะนี้รัฐบาลไทยกำลังมุ่งมั่นในการพัฒนาการขนส่งสินค้าในประเทศ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งสินค้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้ต่อไป โดยปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางบกในประเทศไทยร้อยละ 80 เป็นการขนส่งโดยใช้รถบรรทุก ซึ่งมีต้นทุนมากกว่าการขนส่งสินค้าทางระบบรางถึง 4 เท่า ซึ่งรัฐบาลไทยก็ได้มีการผลักดันการพัฒนาการขนส่งทางรางในประเทศ ซึ่งรัฐบาลวางแผนในการสร้างโครงข่ายทางราง โดยการสร้างรางรถไฟรางคู่ความยาว 4,000 กิโลเมตร เพื่อครอบคลุมเครือข่ายการขนส่งสินค้าทั่วประเทศต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
นาย อู เท ออง รมว.กระทรวงโรงแรมและท่องเที่ยว ประเทศเมียนมา ได้กล่าวถึงประเด็นทางด้านการจัดการการท่องเที่ยวและโลจิสติก และห่วงโซ่อุปทาน ในประเทศสหภาพเมียนมาร์ ว่า ในปัจจุบัน เมียนมาร์มีการขับเคลื่อนการปกครองรอบประชาธิปไตยอย่างเข้มข้น และเชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปสู่ความเข้มแข็งและมั่นคง โดยมีปัจจัยหลักมาจากธุรกิจภายในประเทศ ซึ่งการท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างอาชีพภายในประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เพียงแค่อาชีพทางตรง เช่น งานบริการเท่านั้น แต่ยังมีอาชีพที่เกี่ยวข้องการการท่องเที่ยวทางอ้อม เช่น การขนส่ง การผลิตวัตถุดิบเพื่อตอบสนองความต้องการทางการท่องเที่ยว
สำหรับสถานการณ์ทางด้านโลจิสติก ภายในประเทศถือว่าเพิ่งเริ่มต้น ยังคงต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนจากนานาประเทศที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนและให้ข้อมูลในการพัฒนาในอนาคต โดยธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ คือ ธุรกิจบริการด้านที่พัก ในปัจจุบันมีโรงแรมในเครือใหญ่ๆ มาสร้างโรงแรมมากขึ้น โดยโรงแรมเหล่านี้จะมีการบริหารโดยชาวต่างชาติ สำนักงานท่องเที่ยวของเมียนมาร์ ถือว่าเป็นองกรค์หลักในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และมีบทบาทในการสร้างองค์ความรู้ และเผยแพร่ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของเมียนร์มาร์ สู่คนในท้องถิ่น และผู้มาเยือน
“ปัจจุบัน เมียนมาร์ให้ความสำคัญต่อ ASEAN Community เป็นอย่างมาก เนื่องจากเมียนมาร์ ต้องการความช่วยเหลือจากประเทศใน ASEAN รวมไปถึง ASEAN+3 ในแง่ของการลงทุนและการค้าขายแบบไร้พรมแดน ซึ่ง เมียนมาร์กำลัง พัฒนา 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1.การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resources) เพื่อการให้บริการที่ได้มาตรฐาน และการบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น ทั้งนี้ได้มีนโยบาย จัดตั้งสถานศึกษา รวมไปถึงสถานฝึกปฏิบัติเฉพาะทาง เพื่อให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรภายในประเทศ ให้มีคุณสมบัติในการทำงานในอุตสาหรกรรมการท่องเที่ยว 2.การพัฒนาสินค้าด้านการท่องเที่ยว (Product Development) เมียนมาร์เป็นประเทศที่มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้ง ด้านวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ แต่ยังคงขาดการบริหารจัดการที่ดี จึงทำให้ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เพียงพอที่จะให้คนจากต่างประเทศมาเที่ยวชม นอกจากนี้สิ่งที่เมียนมาร์กำลังจัดทำอยู่ คือแผนพัฒนา พร้อมร่างนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวภายในประเทศ 3. การเชื่อมโยงเครือข่าย (Connectivity) และการพัฒนาสิ่งก่อสร้าง (Infrastructure Development) เมียนมาร์พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังมีการสร้างถนนจุดเชื่อมต่อพรมแดน ไทย-เมียนมาร์ เพิ่มอีกหลายจุด เพื่อให้การเข้าเมียนมาร์จากไทย ทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น” รมว.กระทรวงโรงแรมและท่องเที่ยว ประเทศเมียนมา กล่าว
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.