อุปฑูตสหรัฐ ร่วมตำรวจข่าวกรองลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ยาเสพติด

เวลา 14.00 น.วันที่ 29 มี.ค.62 ที่ห้องประชุม ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย นายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นาง เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ กงศุลใหญ่ ประจำสถานกงศุลสหรัฐอเมริกาจังหวัดเชียงใหม่ พล.ต.ต.ชยพจน์ หาสุณย์หะ ผู้บังคับการหน่วยข่าวกรอง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริการ หรือ DEAได้ร่วมกันแถลงข่าวหลังจากที่ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์บินตรวจสอบเส้นทางลพเลียงยาเสพติดตามแนวชายแดน ในพื้นที่ จ.เชียงราย ทั้งด้าน ติดกับประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว

โดย นายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ กล่าวว่า ไทย และ สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือกันในด้านการปราบปรามยาเสพ1ติดมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งการเดินทางไปสำรวจชายแดนด้าน จ.เชียงราย ในครั้งนี้สหรัฐได้ให้ความสำคัญในการให้ความร่วมมือกับประเทศไทยในการร่วมกันป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขณะที่ประเทศสหรัฐเองก็มีความร่วมมือกับประเทศไทยในการบังคับใช้กฎหมายอยู่แล้ว ต่อมาได้ทราบข่าวสารว่าในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมามีการทะลักเข้ามาของยาเสพติดและเจ้าหน้าที่ไทยก็ได้ตรวจยึดและจับกุมได้จำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มีกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำ จ.เชียงใหม่ ที่คอยดูแลคนสหรัฐอเมริกาในพื้นที่ภาคเหนือด้วยทางกงสุลใหญ่จึงแนะนำให้ตนไปดูพื้นที่ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะให้เกิดความร่วมมือป้องกันไม่ใช่เฉพาะต่อคนไทยเท่านั้นแต่เพื่อไม่ให้ไปถึงคนอเมริกันและพันธมิตรประเทศต่างๆ ด้วย

 

ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น ยาเสพติด ค้ามนุษย์ สัตว์ป่า ป่าไม้ ลักลอบต่างๆ แต่ที่บ่อยครั้งมากที่สุดคอยาเสพติดซึ่งไทยและ DEA ได้ร่วมมือกันมาโดยตลอด การศึกษาดูงานครั้งนี้ทำให้ตนทราบถึงความท้าทายที่ตำรวจไทยพบปัญหาเกือบทุกวัน เพื่อไม่ให้ลักลอบผ่านพื้นที่นี้ไปได้ซึ่งด้วยการปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงจึงต้องขอชื่นชมในผลงานที่ผ่านมาเป็นอย่างมากที่ทำให้ยาเสพติดทะลักสู่ชั้นในของไทยและเข้าไปถึงประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วย

 

“เรารู้ว่ายาเสพติดเป็นแบบอาชญากรรมข้ามชาติอาจมาจากที่อื่น เป็นปัญหาที่พบหลายๆ ที่แม้แต่ในสหรัฐไม่ว่าจะชายแดนใต้และเหนือ อาชญากรก็มักจะลักลอบขนออกจากอีกฝ่ายหนึ่งไปยังพื้นที่ของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อพยายามหลีกเลี่ยงการควบคุมจากทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติจึงวุ่นวายกว่าอาชญากรรมธรรมดาและสำคัญที่สุดที่เราปรึกษากันคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ยิ่งกรณีของชายแดนไทยจะพบว่ามีขายแดนที่ยาวไกลและภูมิประเทศเป็นทั้งภูเขา ป่าและแม่น้ำ ครั้นจะให้เจ้าหน้าที่เฝ้าชายแดนตลอดทางคงเป็นไปไม่ได้จึงต้องร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่จากประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางสหรัฐก็เคยร่วมมือกับมิตรประเทศหลายประเทศป้องกันและแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้มาแล้ว และสำหรับกับประเทศไทยก็จะร่วมมือต่อไปและถือว่าเป็นนความร่วมมือที่ยาวนานที่สุดในภูมิภาคนี้เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันสูง” อุปฑูตสหรัฐอเมริกา กล่าว