เวลา 10.00 น.วันที่ 9 ก.ค.62 ที่ด่านกักสัตว์เชียงราย ริมแม่น้ำโขง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ชายแดนไทย-สปป.ลาว นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธีรับมอบและเปิดศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะบรรทุกสินค้าปศุสัตว์ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์และสมาคมผู้เลียงสุกรแห่งชาติ โดยมีนายนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมฯ และนายวิรัตน์ ตันหยง จากบริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมพิธีเปิด โดย บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างมูลค่า 1.8 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นพื้นที่ที่มีการนำเข้าและส่งออก ปศุสัตว์ ระหว่างประเทศในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสกุร (เอเอสเอฟ) อย่างหนักในหลายประเทศ โดยศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคแห่งนี้ ดังกล่าวเป็น 1 ใน 5 แห่งที่ได้รับการสนับสนุนโดยอีก 4 แห่งคือที่ จ.หนองคาย นครพนม สระแก้ว และมุกดาหาร
นสพ.สรวิศ กล่าวว่า ที่เชียงรายมีการขนส่งสุกรเพื่อส่งออกเฉลี่ยมีการบรรทุกสัตว์หรือซากสัตว์รวม 30-50 คันรถต่อวันโดยปริมาณส่งออกประมาณ 8,000-12,000 ตัวต่อเดือน ปริมาณรวมคือ 0.8-1.2 ตันต่อเดือนและเป็นพื้นที่เสี่ยงเพราะมีทั้งทางบกและทางเรือซึ่งทางบกมีการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว ส่วนทางเรือแม่น้ำโขงนั้นได้บูรณาการ่วมกับหน่วยงานต่างๆ เข้าไปตรวจสอบเรือสิานค้า คนเรือ ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อบนเรือเพื่อป้องกันให้ถึงที่สุดเพราะโรคนี้ไม่มีวัคซีนรักษาหากเข้ามาได้จะเสียหายหนัก
หลังจากที่มีการพบการระบาดของโรคที่ประเทศจีน-มองโกเลีย ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ส.ค.2561 ขณะนี้ประเทศไทยเราก็สกัดได้เกือบครบ 1 ปีแล้ว แต่จากสถานการณ์ในประเทศรอบด้านทำให้ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงโดยเฉพาะมีการนำเข้าและส่งออกรวมทั้งผู้คนเดินทางเข้าสู่ระหว่างประเทศกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกที่ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันสกัดกั้นโรคไม่ให้เข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคแห่งนี้จะทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถบรรทุกสินค้าปศุสัตว์ทุกลำที่ขนส่งสินค้าเข้าและออก และหลังจากนี้ทางภาครัฐมีแผนจะก่อสร้าศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคแห่งนี้ในทุกจุดที่มีความจำเป็นโดยเบื้องต้นคาดว่าจะสร้างอีก 10 จุด เพื่อสกัดกั้นโรคทั่วเขตชายแดนไทยให้ได้
ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ตั้งแต่ประเทศจีน และส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากโรคอหิวาต์แอฟริกาอย่างหนัก ล่าสุดพบใน สปป.ลาวแล้ว ซึ่งใกล้เข้ามาทุกที แต่ในส่วนของประเทศไทยก็ยังไม่พบโรคเพราะเราใช้มาตรการเข้มตั้งแต่ตรวจสอบที่ชายแดน ในการคุมเข้มการนำอาหารหรือซากสัตว์ที่อาจแพร่เชื้อที่สนามบินซึ่งอาจจะมากับผู้โดยสาร ที่ผ่านมาได้ตรวจไปแล้วนับกว่า 100 ครั้งและพบเชื้อถึง 30 ครั้งซึ่งถือว่าสูงและสามารถสกัดได้ทัน ปัจจุบันยังได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ จัดทำคู่มือ มีคำสั่งกรมศุสัตว์ให้ทุกจังหวัดตั้งคณะทำงานโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและปศุสัตว์จังหวัดเป็นเลขานุการ รวมทั้งร่วมมือกับ สปป.ลาว เพื่อตัดตอนไม่ให้เข้าสู่ประเทศไทย และหากเกิดกรณีระบาดเร่งด่วนเข้าถึงประเทศไทยก็ได้มีแผนฉุกเฉินที่ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการแล้ว