เปิดตัวชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม เชียงของ พลิกวิถีภูมิปัญญาหัตถกรรม นำนักท่องเที่ยวสู่ชุมชน
วันที่ 30 ก.ค.62 ที่ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย บ้านศรีดอนชัย อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสิรมศิลปาชีพระหว่างประเทศ นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ พร้อมกับศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ร่วมกับหน่วยงานภาคีจังหวัดเชียงรายจากทุกภาคส่วน จัดกิจกรรมโครงการชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม (Craft Communities) และกิจกรรมลงพื้นที่ชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม (Fam Trip) บนเส้ ก.ค.นทางท่องเที่ยวชุมชนบ้านศรีดอนชัยและชุมชนบ้านหาดบ้าย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยในจังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดแสดงสินค้า และของดีจากแหล่งท่องเที่ยว ใน อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพื่อแสดง่ถึงเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน
จากนั้นวันที่ 31 ก.ค. ได้มีการจัดกิจกรรม press tour เพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนาธรรมและแหล่งชุมชนต่างๆ ใน อ.เชียงของ ซึ่งแต่ละแห่งมีอัตลักษณ์ และความโดดเด่น ที่แตกต่างกัน เช่น พิพิธภัฑ์ลื้อลายคำ เฮือนไทยลื้อ100 ปี แวะทำworkshop การย้อม การทอ การปั่นฝ้าย เรียนรู้กระบวนการทอผ้าด้วยมือตนเองที่บ้านครูดอกแก้ว ธีระโคตร ครูช่างศิลปหัตถกรรม แวะช้อปสินค้าที่ เฮือนคำแพง จากนั้นขึ้นชมชุมชนหัตถกรรมบ้านหาดบ้าย ของครูสุขาวดี ติยะธะ ครูช่างศิลปหัตถกรรม เที่ยวิถีชีวิต แบบไทลื้อหาดบ้ายชมซิ่นไทลื้อจกมืออันเลื่องชื่อ สร้างความประทับใจ ใจแก่ผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
ซึ่งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ดำเนินการจัดตั้งชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม แล้วทั้งสิ้น 10 ชุมชน 13 แหล่งเรียนรู้ และในปี 2562 ได้จัดตั้งชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม อีก 13ชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ในการจัดกิจกรรมปีนี้ SACICT ได้นำความรู้ในการเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสู่ชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม ศักยภาพด้านการตลาด ตลอดจนได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้หัตถกรรมของทั้ง 13 ชุมชน อีกทั้งยังมีแผนการดำเนินงานต่อเนื่องในด้านการสร้างการรับรู้และเสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชน โดยคาดว่าชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมทุกชุมชนจะสามารถต่อยอดและพัฒนาชุมชนในการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพื่อเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญางานหัตถกรรมและวิถีชีวิตอันดีงามต่อไป อันจะก่อให้เกิดอาชีพ การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม (Craft Communities)” เป็นกิจกรรมที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) มุ่งหวังให้เกิดการอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด และถ่ายทอดองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานในพื้นที่ในการทำงานเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยภูมิปัญญาอันแสดงถึงอัตลักษณ์ในชุมชน ส่งผลให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้จากการท่องเที่ยว อันจะก่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน ดำรงวิถีอันมีเสน่ห์ ไว้ได้อย่างยั่งยืน”
ซึ่งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ดำเนินการจัดตั้งชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม แล้วทั้งสิ้น 10 ชุมชน 13 แหล่งเรียนรู้ และในปี 2562 ได้จัดตั้งชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม อีก 13ชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ในการจัดกิจกรรมปีนี้ SACICT ได้นำความรู้ในการเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสู่ชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม ศักยภาพด้านการตลาด ตลอดจนได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้หัตถกรรมของทั้ง 13 ชุมชน อีกทั้งยังมีแผนการดำเนินงานต่อเนื่องในด้านการสร้างการรับรู้และเสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชน โดยคาดว่าชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมทุกชุมชนจะสามารถต่อยอดและพัฒนาชุมชนในการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพื่อเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญางานหัตถกรรมและวิถีชีวิตอันดีงามต่อไป อันจะก่อให้เกิดอาชีพ การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม (Craft Communities)” เป็นกิจกรรมที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) มุ่งหวังให้เกิดการอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด และถ่ายทอดองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานในพื้นที่ในการทำงานเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยภูมิปัญญาอันแสดงถึงอัตลักษณ์ในชุมชน ส่งผลให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้จากการท่องเที่ยว อันจะก่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน ดำรงวิถีอันมีเสน่ห์ ไว้ได้อย่างยั่งยืน”