วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 ที่ ห้องประชุมสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย จัดกิจกรรม เวิร์กช็อปความรู้ทางการเงินสำหรับมือใหม่ โดยมี ดร.ณัฏฐพล สันธิ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ให้กล่าวเปิดกิจกรรม จากนั้น Ms. Deb Mak, Assistant Cultural Attaché Media and Cultural Section, U.S. Embassy Bangkok ( เดฟ แม็ค รองผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรมสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ) ร่วมให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ซึ่งมีนักศึกษาจากสาขาวิชาสำนักบัญชี ชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเข้าร่วมกิจกรรมในการเวิร์กช็อปในครั้งนี้ จำนวน 35 คน
คุณ ตรีธิดา อินทรวงส์โชติ ผู้ก่อตั้งโครงการ เผยว่า สำหรับกิจกรรม The Financial Lab : Financial Literacy workshop for young starter ได้นำผลจากแบบสำรวจจากธนาคารเห่งประเทศไทย เมื่อปี 2559 เรื่อง ความสามารถทางการเงินตาม บรรทัดฐานขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (DECD) ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน พบว่า ความสามารถทางการเงินตามคำนิยามของ OECD ของคนไทยนั้นอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรโลก
โดยด้านความรู้ทางการงินของประชากรไทยนั้นมีคะแนนต่ำที่สุด ในเรื่องมูลค่าเงินตามเวลาดอกเบี้ยทบต้น และ เงินเฟ้อ ด้านพฤติกรรมการเงินพบว่า 33% ของประชากรไทยไม่มีเงินออมและส่วนใหญ่ประสบปัญญาในการออมงินเผื่อกรณีฉุกเฉิน และการเกษียณ อีกทั้งยังพบว่าทัศนคติทางการเงิน ของคนไทยนั้นมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน คือมักจะใช้จ่ายไปกับวิถีชีวิตและความสะดวกสบาย มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่คำนึงถึงการใช้จ่ายหรือลงทุนเพี่ออนาคต เช่น การออมระยะยาวหรือการเกษียณ การขาดความตระหนักรู้ทางการเงิน และการบริหารเงินส่วนบุคคล ย่อมนำมาสู่ปัญหาการเงินส่วนบุคคลในหลายประเด็น
จากรายงานของ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) รายงานว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยในสิ้นปี 2564 มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากเดินเมี่อสิ้นปี 2563 ที่ 80% ต่อ GDP เป็น 93% ต่ว GDP ซึ่งถือได้ว่าสูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งเเต่มีการเก็บข้อมูล และกว่า16% ของตัวเลขดังกล่าว เป็นสัดส่วนของกลุ่มข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ 35% ของหนี้ครัวเรือน เกิดจากการกู้ยืมเพื่อการใช้จ่ายในการบริโภคชีวิตประจำวัน ไม่รวมหนี้สินอันเกิดจากการกู้ยืมกองทุนพัฒนาต่างๆในชุมชน อาทิ สหกรณ์ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือการกู้นอกระบบ ชี้ให้เห็นว่าตัวเลขหนี้สินที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มที่จะเลวร้ายกว่าที่คาดเดาได้ และย่อมจะส่งผลให้เกิดความเปราะบางทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
“แม้การเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นหนึ่งในปัยจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้นตอของปัญหาการเกิดหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะหนี้บริโภค ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ COVID-19 แต่เป็นปัญหาที่มีการสะสมและเพิ่มพุนตามการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐทิจของประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน การเเก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในประเทศไทยผ่านนโยบายกระตุ้นรายได้และมาตรการช่วยเหลือต่างๆ จึงอาจไม่เพียงพอที่จะขจัดปัญหาดังกล่าวในระยะยาว การสร้างความตระหนักและส่งเสริมความรู้เรื่องการเงินส่วนบุคคลแก่ประชากร จึงเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นและการเกิดซ้ำของปัญหาดังกล่าวในระยะยาว” คุณ ตรีธิดา กล่าว
จากความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยจึงได้จัดทำโครงกาs ‘The Financial Lab : Financial Literacy for Young Starter” โดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจการเงินและการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล ผ่านการจัดกิจกรรม เวิร์กช็อป ที่มีการออกแบบลักษณะของกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์และมุมมองของตนเอง (ExperienceBase Leaning ) ภายใต้ระยะเลา 8 ชั่วโมง ให้สามารถนำองค์ความรู้และประสการณ์ที่ได้รับไปประยุกค์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของตนเอง และเกิดเกราะป้องกันทางความคิดในเรื่องการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 350 คน จากมหาวิทยาลัยราชกัฏ 10 แห่ง ครูและบุคลากรการศึกษา จำนวน 350 คน จากพื้นที่เป้าหมายและพื้นที่ไกล้เคียง จำนวน 10 แห่ง จากภาคเหนือ : เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม ภาคใต้ : ยะลา นครศรีรรรมราช ภูเก็ต
สำหรับกิจกรรมเวิร์กช็อป The Financial Lab : Financial Literacy workshop for young starter เป็นกิจกรรมการเวิร์กช็อปการบริหารจัดการเงิน ให้ความรู้ทางการเงินสำหรับมือใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นการวางแผนการเงิน แบบง่ายๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยวิทยากรมืออาชีพ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นครั้งแรกและจะมีการ เวิร์กช็อปที่จังหวัดเชียงราย 2 วัน คือในวันที่ 25 มีนาคม 2565 เปิดเวิร์กช็อปให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ ที่ห้องประชุมสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และวันที่ 26 มีนาคม 2565 เปิดเวิร์กช็อปให้กับ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ ห้องประชุม ลีโอ เชียงราย สเตเดียม ( Leo Chiang Rai Stadium)
โดยกิจกรรมเริ่มจาก ให้ผู้เข้าร่วม กิจกรรมทำแบบทดสอบประเมิณทักษะการเงินสำหรับ young starter และจัดกลุ่มทำกิจกรรม “ Life map designing” ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ออกแบบแผนที่ชีวิตและการใช้เงิน เพื่อเป็นการรู้จักการวางแผนในการใช้เงิน ในชีวิตประจำวันและอนาคต ผ่านการเล่นเกมส์จำลองการใช้ชีวิตประจำวัน กิจกรรม Experiencing your flow : งบกระแสเงินสดในชีวิตประจำวัน กิจกรรม สมการความมั่งคั่ง เพื่อ ชีวิตแบบ FIRE! กิจกรรมกลุ่ม “Quick Win : รู้จักรูรั่วทางการเงินกิจกรรม Financial Life Cycle game บรรยาย เทคนิคการจัดการการเงิน สำหรับคนรุ่นใหม่ เข้าใจง่ายปฏิบัติได้ โดย คุณ ตรีธิดา อินทรวงส์โชติ ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล (FA,IC, FchFp, CFP1-3) และกิจกรรม จัดระเบียบกระเป๋าตังค์ และกิจกรรมบรรยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนรุ่นใหม่ ปิดท้ายด้วยกิจกรรมทำแบบทดสอบประเมินผลและประเมินกิจกรรม