เชียงรายบูรณาการขับเคลื่อนสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยพะเยา ผสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมถึงภาคประชาชน จัดกิจกรรมบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ในด้านสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงรายด้านการออกแบบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์และบูรณาการความร่วมมือระหว่างเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือ Design Together for Chiangrai

โดยกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้น ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2565 โดยจังหวัดเชียงรายนับว่าเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านการสร้างสรรค์และด้านการออกแบบ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรืออพท. ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาให้เมืองต่างๆในพื้นที่พิเศษของ อพท. และในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมเป็นหนึ่งในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกเพื่อให้เมืองต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและเกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

 

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีพลังสามารถขับเคลื่อน“ เมืองเชียงราย” สู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับจังหวัดเชียงรายรวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการประชาชนในพื้นที่และทำให้จังหวัดเชียงรายเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศจากการศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของเมืองเชียงราย พบว่ามีความพร้อมทั้งในด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะที่มาอย่างยาวนาน มีการบูรณาการร่วมกันเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์รวมทั้งการเชื่อมโยงถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะนำเมืองเชียงรายไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกในด้านการออกแบบ

 

นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 ร่วมกับสำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว กล่าวว่า “ กิจกรรมความร่วมมือเพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ในด้านสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงรายด้านการออกแบบและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความสัมพันธ์และบูรณาการความร่วมมือระหว่างเมืองเชียงรายกับเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ UNESCO ได้ดำเนินนโยบาย“ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์” (The Creative Cities Network) ในปี พ.ศ. 2547 และได้ให้คําจํากัดความ Creative City ว่าคือการร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐในการสร้างสรรค์เมืองผ่านการพัฒนาสภาพแวดล้อมโครงสร้างทางสังคมระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการนำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ขนบธรรมเนียมตลอดจนจารีตประเพณีของท้องถิ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองที่เอื้อต่อการสร้างธุรกิจหรืออุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Industries)

 

การขับเคลื่อนไปสู่การสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ส่งผลให้เมืองต่างๆเป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายระดับนานาชาติสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์งานได้นำความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานเกิดการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเกิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ 295 เมืองจากกว่า 90 ประเทศประเทศไทยมี 5 เมืองที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์แล้วคือภูเก็ตเชียงใหม่สุโขทัยกรุงเทพมหานครเพชรบุรีสำหรับพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมีอัตลักษณ์โดดเด่นมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทั้งทางธรรมชาติประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมและจังหวัดเชียงรายยังเป็นพื้นที่เตรียมการประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

 

ในจังหวัดเชียงรายขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) เพื่อประกาศเป็นพื้นที่พิเศษในการขับเคลื่อนเชียงรายสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ อพท. ได้มาร่วมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 และในปี 2565 อพท. ได้ดำเนินกิจกรรม Design Together for Chiangrai ครั้งที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมการออกแบบและการเสวนาทางด้านการออกแบบระดับนานาชาติร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกเมื่อวันที่ 24-26 มิถุนายน 2565 ณ วิหารดิน ศูนย์วิปัสนาสากลไร่เชิญตะวัน โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก กิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อดำเนินตามแผนที่นำทาง (Roadmap) ระยะ 5 ปีเพื่อขับเคลื่อนเชียงรายสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ให้เกิดเป็นรูปธรรมเกิดการมีส่วนร่วมและเกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผู้บริหารทั้งภาครัฐภาคเอกชนท้องถิ่นและภาคประชาชน

การจัดกิจกรรมวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วนในการสร้างสรรค์การออกแบบพัฒนาทั้งในด้านสินค้าบริการทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงรายเพื่อดึงเสน่ห์ของเมืองเชียงรายที่มีเอกลักษณ์มีการสอดแทรกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชียงรายให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความสัมพันธ์และบูรณาการความร่วมมือระหว่างเมืองเชียงรายกับเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ด้านการออกแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนผู้ประกอบการสถาบันการศึกษาชุมชนท้องถิ่น