เชียงราย ถอดบทเรียนเด็ก เคลื่อนย้ายแก้ปัญหาการศึกษาเด็กไร้รัฐ

วันที่ 30 ก.ย. 66  ที่ผ่านมา ที่โรงแรมทีค การ์เด้น สปา รีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย โครงการคุ้มครองสิทธิ์เด็กไร้สัญชาติระยะที่ 3 ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) นำโดยนางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ.และอดีต สมาชิกวุฒิสภา(สว.) จ.เชียงราย และองค์กรภาคีเครือข่าย ได้จัดให้มีการเสวนาเรื่องเด็กเคลื่อนย้ายจากบริเวณชายแดนตะวันตก การเข้าถึงสิทธิในการศึกษาและการคุ้มครองเด็ก โดยมีทางกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มภาคีเครือข่ายมูลนิธิฯต่างๆ ภาคประชาสังคม สถาบันด้านการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านเด็กเคลื่อนย้ายโดยเฉพาะเด็กไร้รับไร้สัญชาติ โดยมี น.ส.กัลยา ทาสม หรือครูปุ้ก อดีต ผอ.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จ.อ่างทอง ซึ่งนำเด็กชาวเมียนมา 126 คนมาเรียนในพื้นที่ แต่ถูกดำเนินคดีฐานพาบุคคลต่างด้าว หลบหนีเข้าเมือง และข้อหาให้ที่พักพิง มาบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้ร่วมเสวนาได้รับฟังด้วย

นางเตือนใจ เปิดเผยว่าการเสวนาครั้งนี้เป้นการต่อเนื่องจากเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการเสวนาเรื่องการอพยบลี้ภัยจากการสู้รบในประเทศเมียนมา แต่ครั้งนี้เน้นไปที่เด้กที่อยู่ในสถานะเคลื่อนย้าย ซึ่งสอดคล้องวกับมีกรณีของโรงเรียนไทยรัฐวิทยาที่ จ.อ่างทอง ซึ่งเป้นกรณีศึกษาที่หน่วยงานด้านความั่นคงมองประเด็นเด็กเหล่านี้เข้าไปเรียนไกลถึงใจกลางเมือง โดยไม่มีผุ้ปกครองและไม่มีใครรับผิดชอบ ทั้งที่ในอดีตเด็กเหล่านี้เข้ามาเรียนลักษณะนี้อยู่แล้วจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงเรียนตามศูนย์ชายแดนต่างๆ ซึ่งมีอยู่จำนวนหลายหมื่นคน ผนวกกับรัฐบาลไทยในปี 2542 ก็ให้ความสำคัญด้านการศึกษา โดยใช้อนุสัญญาด้านสิทธิเด็กเป็นหลัก ซึ่งสถานศึกษาจะต้องรับเด็กทุกชาติศาสนาให้ได้รับการศึกษาจะมีสถานะหรือไม่มีก็ตาม จึงเป็นที่มาของการจัดเนื่องจากสถานการในประเทศเมียนมามีการสู้รบ คงไม่มีความสงบในเร็ววันนี้ ส่วนหนึ่งก็อพยบเข้าพื้นที่ส่วนหนึ่งก็ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในประเทศไทยโดยหวังว่าจะได้มีอนาคตที่ดี

นางเตือนใจ กล่าวว่าพอมีเหตุการณ์ที่ จ.อ่างทอง โรงเรียนทั้งหลายไม่กล้ารับเด็กเหล่านี้ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข โดยมองที่อนาคตของเด็ก ซึ่งประเทศไทยปัจจุบันเข้าสู่ยุคสูงวัยสมบูรณ์ มีประชากรสูงสัยเกิน 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเด้กเกิดใหม่ไม่มีเพียงพอที่จะเลี้ยงดูใหญ่ในอนาคต เด็กๆในประเทศเพื่อนบ้าน หากมีการปลูกฝังด้านศึกษาที่ดี ได้รับสิทธิ์ในการเดินทาง สิทธิด้านการศึกษา สิทธิในหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิในการทำงานโดยมองอนาคตของอาเซียน ก็จะเป็นผลดีแต่ประเทสไทยและอาเซียนด้วย การรับฟังข้อมูลจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการและจากภาครัฐในวันนี้ จะเป้นสังเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับชาติ ระดับอาเซียน จนนำไปสู่การปฎิบัติและการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

นายวีระ อยู่รัมย์ ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้ม จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์ไร่ส้มวิทยา จัดการศึกาษระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา นักเรียนส่วนใหย่จะเป็นลูกหลานของแรงงานเคลื่อนย้ายที่ข้ามฝั่งมาจากประเทศเมียนมา โดยมาทำงานที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 208 คน มีทั้งลูกแรงงานที่เกิดในประเทศไทย และมีเด้กที่ติดตามผู้ปกครองเข้ามา จึงมีทั้งที่เรียนตามเกณฑ์อายุ และเด็กที่เกินเกณฑ์หรือเด็กที่โตแล้ว บางคนอายุ 12-15 ปี แต่ยังอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเด็กเหล่านี้จะมีประสบการณ์อยู่แล้วเพียงแค่มาปรับการเรียนพื้นที่ฐานด้านภาษา ซึ่งปัญหาของเด็กเหล่านี้ก็อยู่ที่จะต้องเคลื่อนย้ายตามผู้ปกครองหากเปลี่ยนสถานที่ทำงานก็จะต้องย้านสถานที่รับการศึกษาไปด้วย

นายวีระกล่าวด้วยว่าแนวโน้มของเด็กเหล่านี้จะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านแรงงานของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันยังขาดแรงงานจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อบ้านซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีเด็กเหล่านี้ตามกลุ่มแรงงาน หรือบางคนที่ทำงานนานก็มีครอบครัวและมีลูกที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งเด้กก็จะเยอะตามจำนวนแรงงานที่ประเทศไทยต้องการ และบางส่วนก็มีการเคลื่อนย้ายจากสถานการณ์สู้รบ โดยเฉพาะ จ.ตากและแม่ฮ่องสอนที่มีค่อนข้างมาก แต่ส่วนมากจะอยู่ในตะเข็บชายแดน เด็กเหล่านี้หากไม่ได้เข้่ารับการศึกษาก็จะเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งจะได้รับงานที่ยากและหากมีงานก็ได้ค่าตอบแทนต่ำ โอกาสที่เด็กเหล่านี้จะเข้าไปสู่เหตุอาชญากรรมหรือเข้าสู่การทำงานที่ผิดกฎหมายด้านอื่นๆก็มีโอกาสสูง ดังนั้นจึงจำเป้นที่จะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กเหล่านี้

น.ส.ลาหมีทอ ดั่งแดนวิมาน ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน ศูนย์พักพิงชั่วคราว(ผู้หนีภัยความไม่สงบ) จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ปัญหาสำหรับศูนยิพักพิงคือด้านการศึกษาสำหรับเด็กๆ ยังมีเด็กกว่า 1,000 คนที่ยังไม่ได้เรียนหนังสือ บางคนเคยเรียนกในประเทศเมียนมามาแล้ว แต่พอลี้ภัยสงครามเข้ามาก็ไม่ได้เรียนต่อ และอีกปัญหาคือเรื่องปัญหาสุขภาพที่ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนแต่ก็ไม่ได้รับการเข้าถึงสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เสี่ยงต่อการเป็นไข้มาเลเรีย อีกทั้งยังประสบกับภัยน้ำท่วมและดินสไลด์ แม้จะมีหลายหน่วยงานจะพยายามเข้าไปช่วยเลหือแต่ยังมีข้อจำกัดด้านการเดินทางเข้าพื้นที่ซึ่งยากลำบาก หรือแม้แต่การเข้าถึงพื้นที่การจะเข้าไปบริหารจัดการด้านต่างภายในศูนย์พักพิงนั้นทำได้ยากเพราะติดระเบียบของทางราชการ ภาครัฐเองควรที่จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานหรือองค์กรที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือด้านต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่หรือเต็มรูปแบบได้ โดยเแพาะด้านการศึกษาของเด็กที่เคลื่อนย้ายเข้ามาก็จะเป็นการดี

ขณะที่ทางด้าน พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ,ผศ.ดร. อาจารย์ประจำ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ กล่าวว่าปัจจุบัน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ มีพระภิกษุสงฆ์สามเณรกว่า 1,000 รูปที่เป็นบุคคลไร้รัฐไรัสัญชาติ ที่ทางกลุ่มเข้าดำเนินการช่วยเหลือให้มีสถานะอยู่ในสถานศึกษามีเพียง 80 รูปเท่านั้น ในขณะที่การสำรวจก็พบว่ามีสามเณรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นปัญหาเนื่องจากสถานศึกษาจะไม่รับผู้ที่บวรเข้าไปเรียนในสถานศึกษา ทำให้สามเณรเหล่านี้ตกหล่นจากระบบการศึกษา ที่สำคัญยังมีผลต่อการดำรงชีวิตเนื่องจากหากไม่มีสถานที่ศึกษาก็จะไม่มีกฎหมายรองรับให้อยุ่ในประเทศได้ การเคลื่อนย้ายของแรงงานหลายคนเลือกที่จะให้ลูกมาบวช เพราะมีความสบายใจ ไม่มีความกังวลเป็นห่วง บุตรหลานมีที่อยู่ที่ปลอดถภัย โดยให้อยู่กับวัดโดยที่บุตรไม่ต้องตามพ่อแม่ไป ส่วนนี้ก็จำเป็นที่วัดจะต้องดูแลทั้งความเป็นอยู่และค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งก็อยากให้ภาครับยื่นมือเข้ามาช่วยเหลิอทั้งด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขเพราะถือเป็นสิ่งจำเป็น ทุกวันนี้จำนวนนักบวชที่เป็นบุตรหลานแรงงานก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จำนวนที่สำรวจพบยังไม่ถึงครึ่งของจำนวนที่มีอยู่จริง ซึ่งหากสำรวจครบคงมีมากกว่านี้