เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 19 ต.ค. 2566 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น นายทวีสันต์ วิชัยวงศ์ ประธานสภาอุตสากรรม จ.ขอนแก่น พร้อมด้วย รศ.ดร.จรรยา พุคยาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น,นายยอดเมือง ศิริประธาน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6 ขอนแก่น และนายพรพจน์ คงสงค์ ผู้อำนวยการพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ ร่วมระหว่างสภาอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น,มหาวิทยาลัยศรีปทุม,สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์และสถาบันพัฒนาฝีมืแรงงานภาค 6 ขอนแก่น
เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาทุกชั้นปีของมหาวิทยาลัยฯ,และกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่สนใจได้เตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานตามความต้องการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเองกับงานบริการและกลุ่มอุตสาหกรรมในด้านอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก
นายทวีสันต์ วิชัยวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ยอดมรับว่าตลาดแรงงานของไทย โดยเฉพาะในภาคอีสานทักษะฝีมือแรงงานคนอีสานนั้นเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการอย่างมาก โดยเฉพาะแรงงานด้านเทคนิคและแรงงานฝีมือเฉพาะทาง อีกทั้งสถาบันการศึกษาทุกแห่งมีงานทางวิชาการที่เหมาะสมในการที่จะยกระดับและถ่ายทอดกระบวนการการเรียนการสอนให้กับกลุ่มแรงงานได้ตรงศาสตร์และครบถ้วน ดังนั้นการลงนามความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีสาขาวิชาด้านงานบริการที่โดดเด่น ทั้งทางด้านการบิน,การท่องเที่ยว,และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้ประกอบการจะนึกถึงนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ หรือการฝึกอบรมต่างๆตามงานที่ถนัดหรืองานที่เกี่ยวข้องที่จะได้หลักวิชาการและมาตรฐานของแรงงานตรงตามความต้องการของสถานประกอบอีกด้วย
ขณะที่ รศ.ดร.จรรยา พุคยาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงานทุกระดับ โดยเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัย แม้จะโดดเด่นในเรื่องของสาขาวิชาการบริการ,การท่องเที่ยว,การบิน และด้านคมนาคมขนส่ง แต่ทุกสาขาวิชาที่เปิดทำการเรียนการสอนถือว่าตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการทุกประเภท วันนี้จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่หน่วยงานชั้นนำในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาคจะมาร่มกันพัฒนานักศึกษาและกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่สนใจหรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการ ที่ต้องการแรงงานที่เหมาะสมกับงานและมีความถนัดหรือเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
“เราจะร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม และพัฒนทักษะบุคลากรของสถานประกอบการให้มีความรู้ และทักษะตรงต่อความต้องการของสถานประกอบกิจการในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeECและพื้นที่ใกล้เคียง โดยคาดหวังที่จะให้เกิดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ตลอดชีวิตวัยแรงงาน และเชื่อมต่อการดำเนินงานระหว่างภาคการศึกษากับภาคแรงงานให้ทำงานเชื่อมต่อและสอดคล้องในทิศทางเดียวกันกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งขอนแก่น ปัจจุบันเน้นหนักในการให้บริการด้านการประชุมสัมมนา และการจัดนิทรรศการ คู่ขนานกับด้านการท่องเที่ยว การแพทย์ และอุตสาหกรรมสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยฯมีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกันกับทุกฝ่ายและนำศักยภาพของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ มอบให้กับนักศึกษาและผู้ที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรต่างๆได้มีความเชี่ยวชาญตามาตรฐานแรงงานไทยในภาพรวม”
ขณะที่นายยอดเมือง ศิริประธาน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6 ขอนแก่น กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้ใช้แรงงานคือการได้รับการรับรองและมีใบประกอบวิชาชีพตรงตามสายงานที่รับผิดชอบ ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เน้นการให้บริการเชิงรุก เพื่อสนับสนุนให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่มในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยเริ่มจากทักษะที่เกิดขึ้นนั้นเรียน ดังนั้นการที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ชั้นนำในระดับจังหวัดที่เกิดขึ้นเป็นการการันตได้อย่างชัดเจนว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัย จะได้รับใบประกอบวิชาชีพ หรือใบรับรองการฝึกอบรมหรือแม้กระทั่งสถานประกอบการใดที่จัดส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมกับทางมหาวิทยาลัยฯ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็จะมาร่วมจัดทำหลักสูตรหรือให้การสนับสนุนในด้านต่างๆตามกรอบอำนาจหน้าที่เพื่อให้ทุกคที่สำเร็จการศึกษาหรือผ่านการฝึกอบรม จะมีความมั่นใจได้ว่ามีความพร้อมที่จะปฎิบัติงานตามที่สถานประกอบการต้องการอย่างแน่นอน
นายพรพจน์ คงสงค์ ผู้อำนวยการพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเริ่มใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในสถานประกอบการ ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นและความก้าวล้ำของเทคโนโยลีก็มีขึ้นอย่างมาก ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่เกียวข้องด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคาทรอนิกส์ ซึ่งขณะนี้สถานประกอบการในภาคอีสานเริ่มที่จะนำระบบอุตสาหกรรมดังกล่าวเข้ามาใช้มากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมกันพัฒนาฝือทักษะของบุคคลากรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกลุ่มแรงานใหม่หรือบัณฑิตใหม่ที่จะได้รับการพัฒนาทักษะแรงงานรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกำลังคนในภาคอุตสาหกรรม หรือการสร้างนวัตรกรรมได้เองตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการได้อย่างยั่งยืน