เชียงรายพร้อมเข้าสู่ AEC เผยไม่กลัวประเทศที่สามแย่งการค้ามั่นใจโลจิสติกดีกว่า‏

 

ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย หลังจากที่ Mr . Michael Heath กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ และMr.Marc G.Miller รองกงสุลฝ่ายเศรษฐกิจและการเมือง สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้เดินทางมายังจังหวัดเชียงรายเพื่อหารือเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนหรือ AEC ในปี 2018 นี้ โดยได้เข้าพบกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งพบปะกับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ด้านเศรษฐกิจและการค้าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
โดย  น.ส.ผกายมาศ เวียร์รา ประธานสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-พม่า อ.แม่สาย กล่าวว่า การที่เข้าพบปะหารือกับ Mr . Michael Heath กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ และMr.Marc G.Miller รองกงสุลฝ่ายเศรษฐกิจและการเมือง สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ ทางอเมริกามีความเป็นห่วงว่าเชียงรายซึ่งถือเป็นประตูหน้าด่านของประเทศไทย และเป็นจุดศูนย์กลางในการนำเข้าและส่งออกสินค้าในภูมิภาคเอเชีย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพในการเป็นเมืองเศรษฐกิจอยู่แล้ว โดยผู้ประกอบการในพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมรับมือเพื่อเข้าสู่ประชาชคมอาเซียน
โดยในพื้นที่จังหวัดเชียงรายการเชื่อมต่อด้านการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงการค้ากับประเทศจีนนั้นพบว่ามีความได้เปรียบเนื่องจากมีการคมนาคมหรือโลจิสติกที่ดีกว่าในจังหวัดอื่น โดยมีจุดศูนย์กลางทั้ง ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งทางบก ขณะนี้มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนทั้งที่ อ.เชียงของ ซึ่งมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงประเทศจีนทำให้การขนส่งทางบกเป็นได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของแล้ว ในอนาคตหากสะพานข้ามแม่น้ำโขง พม่า-ลาว ที่บ้านห้วยกุ่ม เมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับบ้านเซียงลาย เมืองท่าขี้เหล็ก เขตรัฐฉานของพม่า โดยสะพานจะมีความยาว 691.6 เมตร กว้าง 10.9 เมตร ซึ่งจะมีทางรถ 2 ช่องทางจราจร กว้าง 8.5 เมตร และทางเดิน 2 ฝั่ง ฝั่งละ 1.2 เมตร และสูง 12 เมตร สามารถรองรับรถบรรทุกสินค้าหนัก 75 ตัน และเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดระวาง 500 ตันล่องลอดใต้สะพานไปได้ กับทั้งยังสามารถทนทานต่อแผ่นดินไหวระดับ 7 ริกเตอร์ ซึ่งหากสะพานแห่งนี้แล้วเสร็จการคมนาคมจากจีนเข้ามายังประเทศไทยที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก็จะลดระยะทางตจากเดิมที่ต้องไปข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้ารวดเร็วและลดค่าขนส่งลงอีก
ด้านทางน้ำ ที่จีนมีเขื่อนที่ต้นแม่น้ำโขง และเขื่อนไซยะบุรี ที่ประเทศลาว ซึ่งจะทำให้แม่น้ำโขงมีปริมาณน้ำที่คงที่อยู่ตลอดทั้งปี ทำให้การเดินเรือสามารถบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักมาได้ตลอดทั้งปี ซึ่งจะทำให้การเดินเรือสินค้าสามรถเดินทางได้ตลอดปี ด้านอากาศยาน ในขณะนี้ทั้งท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ก็ได้มีสายการบินของประเทศจีนมาบินลงบ้างแล้ว และทางท่าอากาศยานท่าขี้เหล็กของประเทศพม่า ก็ได้เปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศแล้ว ซึ่งคาดว่าในอนาคต การขนส่งสินค้าหรือโลจิสติดในจังหวัดเชียงรายนั้นจะทำให้ได้เปรียบภูมิภาคอื่นๆ
นอกจากนี้ทางกงสุลาหรัฐ ได้เป็นห่วงหากมีประเทศที่สามเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยจะกระทบกับเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงรายหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้ น.ส.ผกายมาศ กล่าวว่า ประเทศที่สามหากจะเข้ามาทำการค้าแข่งกับประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่อยู่แล้ว และมีระบบการขนส่งที่ครอบคลุมทุกด้านนั้น ไม่สามารถจะส่งผลกระทบให้ภาคเศรษฐกิจของไทยและจังหวัดเชียงรายอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจังหวัดเชียงรายจะเป็นศูนย์รวมด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้าแล้ว ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเองก็ยังมีการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีมานานแล้ว ทำให้ประเทศที่สามที่จะเข้ามาแย่งดุลการค้าเป็นได้ยาก