เกษตรกรขอนแก่น แฮปปี้ หัวไชเท้าปีนี้ราคาดี ราคาหน้าสวน กก.ละ 8-10 บาท พร้อมวอน ภาครัฐสนับสนุนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้มากขึ้น หลังพบบางพื้นที่ประสบภัยแล้งทุกปีไน้การแก้ไขที่ยั่งยืน
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 มี.ค.2567 นายทวี ไชยชาติ กำนันตำบลบ้านแฮด อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยผู้นำชุมชนในพื้นที่ ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ในพื้นที่ อ.บ้านแฮด เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ได้รวมตัวกันปลูกต้นผักกาดหัว หรือหัวไชเท้า รายใหญ่ของภาคอีสานส่งจำหย่ายให้กับตลาดค้าส่วผักรายใหญ่ทั้งในพื้นที่และระดับประเทศ เนื่องจากขณะนี้เตรียมเก็บเกี่ยวผลผลิตกันแล้ว
นายทวี กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักกาดหัว หรือหัวไชเท้ารายใหญ่ของอำเภอ ครอบคลุมพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย บ้านหนองโง้ง,บ้านแฮด,บ้านหนองไฮ ตำบลบ้านแฮด และบ้านทางพาดปอแดง ต.โคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด เนื่องจากทั้ง 4 หมู่บ้านมีสภาพดินที่เหมาะกับการปลูกหัวไชเท้า อย่างมากเนื่องจาก สภาพดินจะเป็นดินร่วนปนทราย เพราะหัวไชเท้าหากปลูกในลักษณะดินอื่นโดยเฉพาะดินแข็งจะปลูกลำบาก
“หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวบ้านจะแปรสภาพทุ่งนา มาปลูกหัวไชเท้ากัน โดยจะปลูกได้ 2 รอบ ซึ่งถือว่าเป็นผักทำเงินในฤดูแล้ง ที่ทำสืบต่อกันมากว่า 30 ปี สร้างรายได้ประมาณ 50,000 บาท ต่อไร่ และ ปีนี้ตลาดรับซื้อหัวไชเท้า ให้ราคาดีสูงถึง กก.ละกิโละ 8 – 10 บาท เจ้าของสวนต้องจ้างคนในหมู่บ้านมาช่วยงาน ทั้งเก็บหัว คัดไซต์ ส่วนหัวที่ตกเกรด จะตัดแต่งนำไปแปรรูปเป็นหัวไชเท้าดอง ส่งขายสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ส่วนหัวที่สมบูรณ์ก็บรรจุใส่ถุง รอพ่อค้าแม่ค้ามารับที่หน้าสวนเพื่อนำไปจำหน่ายตลาดค้าส่งผักต่างๆ ซึ่งใน ปัจจุบันทั้งอำเภอบ้านแฮดมีชาวบ้านปลูกผักกาดหัวส่งขายกว่า 80 ราย มีพื้นที่รงมกว่า 500 ไร่ โดยเลือกปลูกหลังฤดูกาลทำนา คือเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็จะไถทำแปลง ซึ่ง 1 ปีปลูกได้ 2 – 3 รอบ แต่ละรอบวางแผนเว้นระยะการปลูกลงต้นใหม่ทุกๆ 10 วันให้สามารถเก็บเกี่ยวขายได้ตลอดฤดูกาล ซึ่งแต่ละฤดูกาลใช้เวลาในการปลูกจนถึงเก็บขายเพียง 45 วัน ทำรายได้รวมปีละหลายล้านบาท”
นายทวี กล่าวต่ออีกว่า เกษตรกรในพื้นที่ หลังเก็บหัวไชเท้าขาย ก็ปลูกเห็ดฟางต่อ ซึ่งเห็ดฟางก็ราคากำลังดีอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาทเลยทีเดียสงว อย่างไรก็ตามแม้ราคาสินค้าภาคการเกษตรจะราคาดี และตลาดมีความต้องการสูงในระยะนี้ แต่เกษตรยังมีความต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมเรื่องน้ำ เพราะหัวไชเท้าต้องการน้ำ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรใช้น้ำจากบ่อบาดาลและรอน้ำจากพื้นที่ชลประทาน ดังนั้น หากภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมควรเน้นหนักเรื่องน้ำ เพื่อเป็นการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ให้ได้อย่างยั่งยืน