ที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย นายอิทธิพล บุญอารีย์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ได้เปิดเผยถึงการเตรียมความพ้อมในการรองรับผู้โดยสารที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งภายนอกและภายในท่าอากาศยานให้สวยงาม เตรียมพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2015 นี้
นายอิทธิพล บุญอารีย์ กล่าวว่า ปัจจุบันท่ากาอาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงรายมีสายการบิน และจำนวนไฟลท์ที่เพิ่มขึ้นต่อวันในรอบเดียวกันของปีที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 40% และมีไฟลท์ที่เข้าออกต่อวัน 44 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารที่เติบโตขึ้นถึง 33% เป็นตัวชี้วัดว่าจังหวัดเชียงรายมีแหล่งท่องเที่ยวและแลนด์มาร์คใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวเยอะ ซึ่งทางท่าอากาศยานก็มีการขยายสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารและทางสายการบิน ในระยะสั้นในช่วง 2 ปีนี้ โดยจะทำการย้ายผู้โดยสารระหว่างประเทศขาออกจากเดิมที่อยู่ชั้นล่างไปอยู่ชั้น 2 และจะจัดพื้นที่เดิมให้เป็นพื้นที่พักคอยของผู้โดยสาร พร้อมกับจัดการปรับปรุงห้องน้ำทั้งหมดของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย โดยมีงบประมาณ 10 ล้านบาท พร้อมกับการขยายเคาท์เตอร์เช็คอินเพิ่มขึ้นิก 5 เคาท์เตอร์ ซึ่งากเดิมที่มี 14 เคาท์เตอร์ เพื่อรองรับสายการบินใหม่ๆที่จะเข้ามา ซึ่งในเดือน เม.ย.นี้ก็จะมีสายการบินไลออนแอร์มาเข้ามาเป็นสายการบินแรก อีกส่วนหนึ่งที่จะเพิ่มขึ้นมาคือสะพานเชื่อมตัวที่ 3 หรือคอนแทคเกท และขยายหลุมจอดเพิ่มอีก 5 หลัมจอด รวมเป็น 8 หลุมจอด ซึ่งทั้งหมดเป็นแผนระยะสั้นที่จะพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย
นอกจากนี้พื้นที่การท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศในภาคเหนือ จะเห็นว่ามีจังหวัดคู่ขนาน อย่างเชียงใหม่กับเชียงราย ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ลงเครื่องที่เชียงใหม่แล้วอยากจะมาเที่ยวเชียงราย และมีนักท่องเที่ยวที่มาลงเครื่องที่เชียรายอยากจะไปเที่ยวที่เชียงใหม่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือระยะทางมีเชื่อมต่อในปัจจุบันมีระยะทางมากกว่า 160 กิโลเมตร ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางยาวนานถึง 3 ชั่วโมง ในอนาคตหากมีการทำเชื่อมในลักษณะมอเตอร์เวย์ ระหว่างเชียงใหม่ – เชียงราย จะเกิดเป็นทิวนซิตี้ และทวินแอร์พอร์ต ซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับว่าท่าอากาศยานเชียงใหม่มีตารางการบินที่ค่อนข้างจะแน่น แต่ก็จยังมีผู้โดยสารที่ต้องการที่จะไปลงที่เชียงใหม่อีกเป็นจำนวนมากในแต่ก็มีขีดจำกัดในแต่ละวัน แต่ว่าท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงรายยังมีขีดความสามารถที่จะรองรับเที่ยวบินต่างๆได้อีก ซึ่งปัจจุบันมีเที่ยวบินมาลงที่เชียงรายเพียงวันละ 44 เที่ยวบิน ซึ่งมีขีดความสามารถเพิ่มเที่ยวบินได้ถึง 70-80 เที่ยวบินต่อวัน
“ด้วยขีดความสามารถของท่าอากาศบยานทั้งรันเวย์ และแท็กซี่เวย์ ฉะนั้นหากโครงการนี้สามารเกิดขึ้นได้และสามารถทำการถ่ายเทผู้โดยสารในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาทีได้ จะเป็นอีกยุทธศาสตร์สำคัญในการท่องเที่ยวภาคเหนือ และที่สำคัญจะเห็นได้ว่าจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ติดกับชายแดน 7 อำเภอ ซึ่งถือเป็นจังหวัดหน้าด่านที่จะมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาซึ่งจะเป็นทางเชื่อมที่สำคัญในยุทธศาสตร์ภาคเหนือ นอกจากนี้สายการบินที่ไม่สามารถลงที่เชียงใหม่ ก็สามารถมาลงจอดที่เชียงรายได้ และสามารถเดินทางไปยังเชียงใหม่ทางรถยนต์ ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวก็จะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวรับได้และเป็นที่น่าพอใจ” ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย กล่าว