ตะลอนทัวร์แอ่วเส้นทางสายบุญมิติใหม่การท่องเที่ยวภาคเหนือ

 

หากจะกล่าวถึงการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือจ.เชียงรายพะเยาแพร่และน่านซึ่งอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ถือเป็นอีกพื้นทื่หนึ่งที่น่าสนใจเพราะมีความหลากทางด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและยังมีความหลากหลายทางด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรมที่มีหลากหลายมากกว่า 30 ชาติพันธุ์แต่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของความล้านนาไว้อย่างเหนียวแน่นจึงทำให้มีวัดวาอารามและโบราณสถานตลอดจนผลงานด้านศิลปผุดขึ้นมากมาย

ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ทำให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด(ทกจ.)เชียงรายจึงได้จัดให้มีการเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวของ 4 จังหวัดขึ้นภายใต้ชื่อ FAM trip เปิดประตูสู่ล้านนาตะวันออกเชียงรายพะเยาแพร่น่านโดยมีการเชิญตัวแทนจากภาคส่วนราชการผู้ประกอบการท่องเที่ยวสถาบันการศึกษาและสื่อมวลชนจากพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตะลอนทัวร์ตามเส้นทางท่องเที่ยวภายใต้ทริป Agent Media Fam Tiaip ระหว่างวันที่ 1-4 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา

โดยจังหวัดแรกที่มีการเยี่ยมชมคือจ.แพร่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ในพื้นที่อ.ลองมีพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณที่ก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมกับยุโรปชมผ้าซิ่นตีนจกเมืองลองเป็นผ้าที่มีลวดลายสวยงามและมีชื่อเสียงประจำจ.แพร่  สถานีรถไฟบ้านปินที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมบาวาเรียนแท้ๆ  ในตัวเมืองยังมีคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่หรือจวนผู้ว่าราชการแพร่ที่ปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนเข้าชมคุ้มหลวงวงศ์บุรีหรือบ้านวงศ์บุรีอายุกว่า 100 ปี

จ.น่านนอกจากจะสัมผัสวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวน่านด้วยการนั่งรถรางชมเมืองชมดอยสวนยาหลวงซึ่งเป็นสวนกาแฟบนทิวเขาที่สวยงามที่นี่ยังโดดเด่นด้านโบราณสถานและขึ้นชื่อในด้านศิลปะอีกด้วยโดยสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวคือวัดพระธาตุช้างคำวรวิหาร  ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงษ์  กลางใจเมืองจ.น่านหรือเรียกว่าวัดหลวงหรือวัดหลวงกลางเวียง  สร้างขึ้นสมัยปู่แข็งพ.ศ.949  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัยสร้างสมัยสุโขทันตอนปลายเป็นพระประธานขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสนตึวพระวิหารหลวงสร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือมีองคืพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำอยู่ด้านหลังและมีพระเจ้าทันใจซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยให้กราบไหว้สักการะบูชาด้วย

ไม่ไกลกันมากนักมีเสาหลักเมืองน่านที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญเจ้าผู้ครองนครน่านตั้งอยู่บริเวณวัดมิ่งเมืองเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2333 เดิมเสาหลักเมืองสร้างขึ้นด้วยไม้แต่เกิดน้ำท่วมเมืองและฝังอยู่ใต้ดินหลายร้อยปีทำให้พุกร่อนปัจจุบันจึงมีการสร้างเสาหลักเมืองจำลองแบบอิฐปูนขึ้นมาทดแทนและมีการสร้างศาลหลักเมืองน่านขึ้นมาครอบไว้  ออกนอกตัวเมืองอีกหน่อยในพื้นที่ต.ดู่ใต้อ.เมืองน่านจะมีวัดพระธาตุเขาน้อยตั้งตระหง่านอยู่บนสันเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 250 เมตร  หน้าวัดมีบันได 303 ขั้นมีองค์พระธาตุขนาดใหญ่สร้างโดยพระมเหสีรองของพญาภูเข็งเจ้าผู้ครองนครน่านด้วยความที่เป็นวัดเก่าแก่  ด้านมีพระพุทธมหาอุตมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่านพระพุทธรูปปางลีลาตั้งตระหง่านเป็นจุดชมวิวทัศนีทัศน์ของตัวเมืองน่านอย่างชัดเจนทำให้ปีพ.ศ.2523 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัด

อีกจุดที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเที่ยวจ.น่านคือหอศิลป์ริมน่าน  ตั้งอยู่บ้านห้วยยื่นม.2 ต.บ่ออ.เมืองน่านซึ่งเป็นสถานที่แสดงศิลปะของศิลปินชาวเมืองน่านและจากทั่วประเทศบนเนื้อที่ 13 ไร่ที่ทางอ.วินัยปราบริปูศิลปินชาวเมืองน่านใช้เวลาก่อตั้งมา 13 ปี  ปัจจุบันมีหอแสดงขนาดใหญ่ภายในมีการจัดแสดงศิลปะร่วมสมัยที่รวมเอาศิลปะจากทั่วประเทศมาจัดแสดงโดยมีภาพจากฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพสยามบรมราชกุามารีฯที่เคยเสด็จพื้นที่ 3 ครั้งมาจัดแสดงด้วยด้านนอกมีการจัดแสดงศิลปะของอ.วินัยและมีอาคารแสดงปฎิมากรรมไม้และเฮือนหนานบัวผัน  ซึ่งเป็นสถานที่เชิดชูเกียรติหนานบัวผันศิลปินผู้เขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวและวัดภูมินทร์ให้ชมด้วย

ที่จ.พะเยานอกจากจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวชุมชนชาวไทยลื้อโดยเฉพาะที่ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้ออ.เชียงคำ  ที่ยังมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวมีสถาปัจบ้านเรือนแบบดั้งเดิมชมวัดแสงเมืองมาที่สร้างโดยชาวเมืองมางมณฑลยูนนานครั้งถูกเจ้าเมืองน่านต้อนมาในอดีตแล้วในตัวเมืองพะเยายังมีกว๊านพะเยาเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลมที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวยามเย็นให้อาหารปลาและออกกำลังกาย

นอกจากนี้ภายในกว๊านพะเยายังเป็นที่ตั้งของวัดติโลกอารามซึ่งปรากฎอยุ่ในศิลาจารึกเรียกว่าบวกสี่แจ่งเป็นจัดวที่พระเจ้าติโลกราชแห่งราชอาณาจักรล้านนาโปรดให้พระยายุทธิษถิระเจ้าเมืองพะเยาสร้างขึ้นในราวปีพ.ศ.2019-2029 เวลากว่า 500 ปีที่ผ่านมาได้กลายเป็นวัดร้าง กระทั่ง พ.ศ.2482 กรมประมงสร้างประตูกั้นน้ำในกว๊านพะเยา เพื่อกักเก็บน้ำทำให้โบราณสถานทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำ จนเมื่องปี 2550 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีการศึกษาประวัติศาสตร์พื้นฟูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและใช้เป็นสถานที่ทางศาสนา ทุกวันสำคัญศาสนาจึงมีการจัดเวียนเทียนทางน้ำขึ้นเป็นแห่งเดียว ทำให้ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญนั่งเรือไปชม กราบไหว้ อย่างไม่ขาดสาย

วัดห้วยผาเกี๋ยงตั้งอยู่ที่ม.12 ต.ท่าวังทองอ.เมืองพะเยาก็เป็นอีกจุดที่กำลังพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเขาเต็มไปด้วยเขาหินและหน้าผาหินอีกทั้งเป็นแนวเขตเดียวกันกับเมืองโบราณเก่าที่เรียกว่าเมืองผายาวหรือพะเยาในปัจจุบันทางวัดจึงได้จัดตั้งให้เป็นอุทยานพุทธศิลป์ขึ้น  โดยมีพระสงฆ์รุปหนึ่งได้มีการเกะสลักพระพุทธรุปบางต่างๆอาทิพระศรีนวมินทราทิตย์  พระพุทธรูปปางลีลาพระในอริยาบถนั่งและยืนเศรียรพระพุทธรูปกระจายไปก้อนหินต่างไม่ต่ำกว่า 30 ชิ้นทำให้ทุกวันนี้เป้นที่สนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางไปเยี่ยมชมตลอดปี

ในพื้นที่จ.เชียงรายมีวัดที่น่าสนใจและกำลังได้รับความนิยมมาท่องเที่ยวกันอย่างมากคือวัดร่องเสือเต้นตั้งอยู่ในชุมชนร่องเสือเต้นต.ริมกกอ.เมืองจุดเด่นของวัดอยู่พระอุโบสถใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบไทยประยุกต์  เป็นสีฟ้าสลับสีทองตกแต่งด้วยลวดลายและจิตรกรรมฝาผนังอันวิจิตรงดงามจากฝีมืองของนายพุทธากาบแก้วหรือสล่านกศิลปินท้องถิ่นชาวเชียงรายเอง

ในเส้นทางเดียวกันยังมีวัดห้วยปลากั้งต.ริมกกอ.เมืองมีพระอาจารย์พบโชคติสสวังโสเป็นเจ้าอาวาสจุดเด่นของวัดอยู่ที่” พบโชคธรรมเจดีย์”   ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงถึง 9 ชั้นศิลปะจีนผสมล้านนา  ล้อมรอบด้วยเจดีย์เล็กๆ 12 ราศีโดยชั้นแรกมีองค์เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพรที่มีขนาดใหญ่แกะสลักด้วยไม้จันทร์หอมที่นำมาจากประเทศจีนอินเดียพม่าชั้น 2 เจ้าแม่กวนอิมปางประทับยืนชั้น 3 เจ้าแม่กวนอิมปางประทับนั่งชั้น 4 หลวงพ่อพระพุทธโสธรจำลองชั้น 5 เจ้าแม่กวนอิมปางพันมือชั้น 6 หลวงปู่โตพรหมรังสีและหลวงปู่ทวดชั้น 7 พระพุทธรูปปางนาคปรกถือว่าเป็นชั้นสวรรค์ดาวดึงห์ปกป้องคุ้มครองปฐพีชั้น 8 พระสังกัจจายน์หรือพระศรีอริยเมตไตรยเทพเจ้าแห่งความสำเร็จเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยประทานทรัพย์ประทานพรชั้น 9 พระอิศวรด้านนอกยังมีองค์เจ้าแม่กวนอิมองค์ใหญ่ที่มีขนาดความสูงถึง  69 เมตร 23 ชั้นขึ้นด้วยลิฟท์ชั้น 22-23 มองเห็นภูมิทัศน์ของตัวเชียงรายได้อย่างชัดเจน

ปิดทริปเส้นทางท่องเที่ยวที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันตำบลห้วยสักอำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่กำลังมาแรงของจ.เชียงรายที่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงรายมากนักที่ทางพระมหาวุฒิชัย  วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) พระนักคิดนักเขียนนักเทศน์และพัฒนาสังคมชื่อดังของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นตั้งอยู่ที่ 217 หมู่ที่ 25 บ้านใหม่สันป่าเหียงต.ห้วยสักอ.เมืองจ.เชียงรายภายในบริเวณบ้านเต็มไปด้วยธรรมชาติบรรยากาศร่มเย็นสบายบนเนื้อที่กว่า 170  ไร่ติดกับอ่างเก็บน้ำห้วยสักภายในมีอุโมงค์กล้วยไม้มงคลเสาตุงล้านนาหุ่นปั้นเณรน้อยปิดหุปิดตาปิดปากและเปิดใจหอศิลป์ว.วชิรเมธีซุ้มโคมล้านนา  อาคารวิปัสสนาหรือธรรมสภาวิหารดินและมหาวิทยาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นพุทธเกษตรเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มผู้สนใจ

นายเธียรแสงขันตีนายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจ.นครสวรรค์  ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะสำรวจเส้นทางเปิดเผยว่าทั้ง 4 จังหวัดนอกจากจะมีวัดโบราณสถานที่สำคัญให้ชมมากมายยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าเที่ยวกระจายอยู่ตามอำเภอรอบนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจ.เชียงรายที่เน้นในเรื่องของโครงการท่องเที่ยวอาหารปลอดภัยที่สามารถเป็นโมเดลในการนำไปประยุกต์ใช้ในการท่องเที่ยวภาค

อื่นๆได้โดยวัดต่างๆก็มีความเป็นล้านนาแตกต่างจากภาคกลางแต่สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวได้ทั้งทางบกและทางเครื่องบินดดยเแพาะการเปิดท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่วิถีชีวิตที่ปัจจุบันหาได้ยากที่ผ่านมาจะมีการท่องเที่ยวเแพาะจุดมีเป้าหมายไม่กี่แห่งและเที่ยวทีละจังหวัดหากมีการรวมทริปการท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายลักาณะนี้เชื่อว่าจะได้รับความสนใจมากขึ้นทำให้เกิดความหลากผลายและจะเป็นการท่องเที่ยวที่แข้มแข็งในอนาคต.